ในโลกที่ทุกอย่าง perfect ถ้าต้องการให้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางใดทางนึงแล้วล่ะก็ ให้หาสิ่งจูงใจมาแลกเปลี่ยน ใครเข้าร่วม ก็ได้รางวัลไป แค่นี้ก็เกิดเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ แต่ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งไม่คาดฝัน การสร้างสิ่งจูงใจ อาจนำไปสู่ผลเลวร้าย ที่รู้จักกันในชื่อ ปรากฏการณ์งูเห่า (The Cobra Effect) :-
ในสมัยที่อังกฤษยึดอินเดียเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดงูเห่าให้หมดไป จึงให้ค่าหัว(งู)แก่ชาวบ้าน ที่นำซากงูมาแสดง ชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอันมาก จนกระทั่ง เกิดธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์งู เพื่อขายซากงูให้ทางการอังกฤษซะเลย
ในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดเวียดนามเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดหนูให้หมดไปจากพื้นที่รอบชุมชนฝรั่งเศสในฮานอย จึงประกาศให้รางวัลแก่ชาวบ้าน ที่นำหางหนูมาแสดง ปรากฏมีชาวบ้านนำหางหนูมาขึ้นรางวัลเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางการฝรั่งเศสค้นพบในเวลาต่อมาว่า ชาวบ้านรอบชุมชนฝรั่งเศสแห่งนี้ทำอาชีพเพาะหนูตัดหางขายให้ทางการฝรั่งเศสอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
นักโบราณคดีในศตวรรษที่ 19 ประกาศให้รางวัลตอบแทนซากกระดูกโบราณ ที่คนงานเหมืองในประเทศจีนขุดพบในแต่ละชิ้น ดังนั้น เมื่อกระดูกถูกขุดพบ มันจะถูกทุบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อจะได้นำไปแลกรางวัลได้หลาย ๆ ชิ้น
เจ้าของที่ดินในเขตที่มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตัดสินใจตัดต้นไม้ และทำลายแหล่งที่อยู่ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์นั้นจนหมด ก่อนที่ที่ดินของตัวเองจะถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า หมดหนทางทำประโยชน์จากที่ดินนั้นอีกต่อไป
รัฐบาลเม็กซิโกซิตี้ แก้ปัญหารถติดด้วยการจำกัดรถที่วิ่งได้ในวันคู่ และวันคี่ ตามป้ายทะเบียน คนในเม็กซิโกซิตี้ ก็เลยซื้อรถเพิ่มอีกคัน เพื่อจะได้ใช้รถทั้งวันคู่ และวันคี่ ส่วนรถที่ขายดีคือ รถรุ่นเก่าที่ประสิทธิภาพในการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่ำ ผลสุดท้ายสร้างปัญหารถติด และมลภาวะมากกว่าเดิม (!!)
หน่วยดับเพลิงได้รับเงินสนับสนุนตามจำนวนเหตุเพลิงไหม้ที่ออกปฏิบัติการ งานด้านการป้องกันเพลิงไหม้จึงไปไม่ถึงไหน เพราะถ้าไม่มีเพลิงไหม้ ก็ไม่ได้เงินน่ะสิ
เรื่องเหล่านี้สอนให้รู้ว่า การเสนอแรงจูงใจ อาจไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการเสมอไป บางครั้งอาจทำให้เกิดผลตรงกันข้ามกับที่ต้องการก็เป็นได้
ใครมีตัวอย่างของ Cobra Effect ในชีวิตประจำวัน ลองมา share กันนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม:
Wednesday, November 07, 2012
Subscribe to:
Posts (Atom)