Saturday, December 04, 2010

The Science behind The Pain: The Evidence ว่าด้วยการรับรู้ความเจ็บปวด

สมองตำแหน่ง anterior cingulate cortex นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดที่ถูกปฏิเสธ ถูกละเลย เป็นส่วนเกินแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเดียวกับอารมณ์ความรู้สึกที่ตอบสนองต่อความเป็นปวดทางกายด้วย (ทำไมต้องตูวะ? -- why me?)

จึง มีการทดลองใช้ยาแก้ปวด paracetamol ธรรมดานี่ล่ะ มาทดลองกับสถานการณ์จำลองการถูกปฏิเสธ โดยให้เล่นเกมส่งลูกบอลในคอมพิวเตอร์ ระหว่างผู้ถูกทดสอบกับคอมพิวเตอร์ แล้วลงเอยด้วยผู้ถูกทดสอบถูกละเลยออกจากเกม ไม่มีใครส่งลูกบอลมาให้ (ถูกปฏิเสธ -- เจ็บปวด) พบว่า กลุ่มที่กิน paracetamol ก่อนทดลองรู้สึกเจ็บปวดจากการถูกปฏิเสธน้อยกว่า

อีกแนวคิดหนึ่งคือ การศึกษาเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเองแบบไม่มีเจตนา ฆ่าตัวตาย (nonsuicidal self-injury: NSSI) ด้วยคำอธิบายว่า การทำให้เกิดความเจ็บปวดทางกาย และบรรเทาลง ทำให้ความรู้สึกไม่ดีที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ลดลงไปด้วย โดยเป็นอีกกลไกหนึ่งแยกต่างหากจากการทำร้ายตัวเองเพื่อลงโทษ (punishment) ตามแบบของ Pavlov ที่มีความเชื่อกันมาอยู่เดิม

ในช่วงหลัง ๆ จึงเริ่มมีความเชื่อ และนำไปสู่การพิสูจน์ว่า กลไกความรู้สึกเจ็บปวดทางกาย และทางความรู้สึกมีความใกล้ชิดกันมากกว่าที่คิด และการบรรเทาความเจ็บปวดทางกาย สามารถช่วยลดความเจ็บปวดทางจิตใจได้เช่นเดียวกัน

ว่าแล้วก็เชิญเสพ Something for the Pain เพื่อบำบัดความเจ็บปวดกันต่อไปนะครับ

ที่มา:

Sunday, September 26, 2010

ประสบการณ์ Kindle 3rd gen

เมื่อวันก่อนได้มีโอกาสจับเจ้า Kindle 3rd gen ตัวเป็น ๆ หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์มาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วครับ

หลังจากที่ผมได้มีโอกาสจับแบบเต็ม ๆ และถ่ายรูป Kindle 3rd gen ตัวนี้ ได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ปรากฏรีวิวฉบับเต็มที่ blognone เป็นที่เรียบร้อย entry นี้ก็เลยเป็นการจับมามองเป็นบางมุม และเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 ที่ผมตัดสินใจเป็นเจ้าของก่อนหน้านี้ก็แล้วกัน

Kindle 3rd gen ตัวที่ได้ทดลองนี้เป็นรุ่น WiFi + 3G (spec เต็ม ๆ จาก Amazon) ครับ

1. รูปร่าง และน้ำหนัก
หน้าจอขนาด 6 นิ้ว และคีย์บอร์ด full QWERTY ทางด้านล่าง ทำให้ตัวเครื่องมีความยาวมากขึ้น น้ำหนักเทียบได้กับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน (ตาม spec คือ 240 g) วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องดูแน่นหนาสมกับที่ใช้ graphite เป็นกรอบ

ทางด้านล่างของตัวเครื่อง จากซ้ายไปขวา:
  • ปุ่มปรับเพิ่ม/ลดเสียง
  • ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 mm
  • USB 2.0
  • keyboard lock/unlock switch
ด้านล่างของหน้าจอเป็นคีย์บอร์ด QWERTY


ด้านหลังของเครื่องจะเป็นที่อยู่ของลำโพง


เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 จะเห็นว่ามีขนาดแตกต่างกันอยู่พอสมควร เนื่องจากหน้าจอขนาด 6 นิ้ว (BeBook mini ขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว) และคีย์บอร์ด QWERTY

ในแง่ของน้ำหนัก หลังจากที่ได้ทำความคุ้นเคยกับ BeBook mini 5 (160 g) มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง พอมาถือ Kindle 3rd gen ตัวนี้ (240 g) ก็รู้สึกได้ถึงความหนักกว่าอย่างชัดเจน แต่ถ้าเทียบแล้วก็พอ ๆ กับพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการถือไปไหนมาไหน

2. หน้าจอ

เป็นสิ่งที่ต้องยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันดับต้น ๆ เลย สำหรับ Kindle 3rd gen ด้วยเหตุผลที่ทาง Amazon โฆษณานักหนาว่า หน้าจอ eInk รุ่นใหม่นี้ มันมี contrast ดีกว่าเดิมถึง 50% มันจะขนาดไหนกันเชียว

แล้วเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา ก็พบกับความคมชัดน่าประทับใจสมคำล่ำลือจริง ๆ เสียด้วย จะชัดขนาดไหน เรียกได้ว่า จอของ BeBook ที่ว่าคมชัดดีแล้ว กลายเป็นมัวหมองไปเลยทีเดียว สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ขอเอารูปเปรียบเทียบมาให้ดูเลยก็แล้วกัน




 3. การใช้งาน 

หน้าจอเวลาที่คีย์บอร์ดถูกล็อคอยู่ จะแสดงรูปของนักเขียนคลาสสิก สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในการล็อคหน้าจอแต่ละครั้ง การปลดล็อคคีย์บอร์ดทำได้โดยการเลื่อนปุ่ม keyboard lock/unlock ทางด้านล่างของเครื่อง

การ navigate ตัวเลือก เมนูต่าง ๆ และการพลิกหน้าหนังสือ สามารถทำได้โดยปุ่ม 5-way navigation button และปุ่มที่อยู่ด้านข้างของเครื่อง การตอบสนองบนหน้าจอยังมีหน่วงอยู่บ้างตามประสา e-Ink

การค้นหาข้อความ หรือการเปิดดิกชันนารี ทำได้สะดวกมากจาก QWERTY keyboard แต่ยังติดอยู่ที่การพิมพ์ภาษาไทย ที่ยังไม่รองรับครับ

สำหรับภาษาไทย สามารถอ่านภาษาไทยในไฟล์ PDF ได้ราบรื่นดี แต่สำหรับ format อื่น จะต้องทำการ hack เพื่อลงฟอนต์ภาษาไทยเพื่อให้สามารถอ่านไทยได้

ประสบการณ์ในการอ่านตามปกติแบบที่เนื้อหาเป็นข้อความอย่างเดียวนั้น จะไม่รู้สึกแตกต่างกับ BeBook มากนัก แต่จุดที่แตกต่างออกไปสำหรับ Kindle ตัวนี้ก็คือ การอ่านไฟล์ pdf ในโหมดขยาย (zoom) นั้น จะยังคง page layout ของเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน การ scroll เพื่ออ่านข้อความจึงต้องทำทั้งในแนวราบ (ซ้ายขวา) และแนวตั้ง ซึ่งแตกต่างจาก Adobe PDF ใน BeBook ซึ่งจะทำการ reflow ข้อความให้ ทำให้เสีย page layout ไป การคง page layout เอาไว้นี้ มีข้อดีก็คือ สามารถอ่านแผนภูมิ รูปภาพขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่งง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเลื่อนหน้าจอในแนวราบ ดีหรือไม่ดี จึงขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้งานของแต่ละคนครับ
PDF page layout แบบเต็มหน้าจอ
PDF zoom 150%


4. Web browser

แม้ว่าจะยังเป็น experimental feature แต่จากการทดลองใช้งานก็พบว่า สามารถแสดงผลเวบต่าง ๆ ได้ราบรื่นดี เข้าใช้ GMail ได้อย่างไม่มีปัญหา (เครื่องที่ทดสอบได้ทำการลงฟอนต์ไทยเรียบร้อยแล้ว) จะอึดอัดอยู่บ้างก็ตรงที่มันไม่ใช่ touch screen เผลอเอานิ้วจิ้มที่หน้าจออยู่หลายครั้งระหว่างเล่นเนต
และสิ่งที่ดูจะคุ้มค่ามากก็คือ การใช้เครือข่าย EDGE/3G แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทำให้ความฝันของใครหลายคนเป็นจริงชนิดที่เมินสารพัด tablet ไปได้เลยทีเดียว
ทดลองเปิดเวบ bbc.co.uk
GMail ผ่านเวบ

นอกจากนี้ QWERTY keyboard ถือเป็นส่วนเติมเต็มของความสามารถ web browsing นี้เลยทีเดียว เพราะทำให้การพิมพ์ URL, login, password สะดวกมาก

5. ความสามารถ/ข้อจำกัดอื่น ๆ

ความสามารถที่น่าสนใจ ที่ยังผมไม่ได้ลองก็คือ Text-to-speech และการเล่นไฟล์เสียง แต่เท่าที่ถามเจ้าของเครื่อง สามารถทำได้เป็นที่น่าพอใจทั้งการเล่นผ่านลำโพง และหูฟัง
ส่วนข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนยังขัดใจก็คือ ชนิดของไฟล์ ที่สนับสนุนนั้นมีไม่มาก และขาดฟอร์แมตที่สำคัญอย่าง epub ไป ทำให้ต้องอาศัยเครื่องมือเข้ามาช่วยแปลงไฟล์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นปัญหาเชิงเทคนิคสำหรับผู้ใช้จำนวนหนึ่งได้ (ณ จุดนี้ ฟรีแวร์ Calibre ช่วยได้มาก แถมยัง cross platform อีกด้วย)

สรุป

Amazon ได้สร้างมาตรฐานของ eReader ยุคต่อไป ทั้งทางด้านคุณภาพหน้าจอที่ดีขึ้น ความสามารถที่เริ่มขยายออกไปนอกเหนือจากการอ่าน การเพิ่มความสามารถทางด้าน wireless connectivity แบบไม่จำกัด และที่สำคัญที่สุดคือ ราคา ที่ไม่ได้สูงจนเกินเอื้อมอีกต่อไป การขยับของ Amazon คราวนี้คงจะทำให้ผู้ผลิต eReader รายใหญ่เจ้าอื่น ๆ ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในส่วนของรายเล็ก อาจจะถึงขนาดถอดใจกันเลยก็เป็นได้

หมายเหตุ:
  • ภาพประกอบถ่ายโดย Samsung Galaxy Spica ดูภาพเพิ่มเติมได้จาก web album
  • ขอขอบคุณ มิ้ว เจ้าของเครื่อง ที่เอื้อเฟื้อเครื่อง Kindle ครับ

Sunday, September 12, 2010

ว่าด้วยการซื้อ eBook (2): ความพยายามซื้อ ebook กับด่านที่ต้องฝ่า

เนื่องจากสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย ebook ถูกเหมารวมไปกับหนังสือปกติ ที่ถูกแบ่งตามภูมิภาคต่าง ๆ (Territorial rights) เมื่อกฎนี้ถูกบังคับใช้ บรรดาเวบไซต์ขาย ebook ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งกำแพง เพื่อป้องกันการขาย ebook ให้กับคนอ่านที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีสิทธิ์ขาย (รายละเอียดใน ว่าด้วยการซื้อ eBook (1))

ถ้าหากคนอ่านที่อยู่นอกพื้นที่ แล้วอยากจะซื้อจะต้องฝ่าด่านอะไรบ้าง ลองมาสำรวจวิธีการที่ผู้ขายใช้ในการตรวจสอบกัน
  1. ที่อยู่ (shipping address / billing address)

    เมื่อมีการลงทะเบียนเข้าใช้งานเวบไซต์ หรือตอนที่กำลังจะจ่ายเงิน ผู้ใช้จะต้องมีการบันทึกที่อยู่ที่ใช้สำหรับส่งของ(ไม่ได้ใช้จริง) เอาไว้ แล้วทางคนขายจะตรวจสอบกับ Territorial rights ของหนังสือเล่มนั้น ๆ ว่าขายให้ได้หรือเปล่า
    การฝ่าด่านขั้นตอนนี้ไม่ยากเท่าไหร่ เพียงแค่ขอยืมที่อยู่ของใครสักคน หรือถ้าไม่รู้จักใครในอเมริกาเลย ก็ search จาก Google Maps มาใส่ก็แล้วกัน
  2. หมายเลขบัตรเครดิต

    เวบไซต์คนขายหลาย ๆ แห่งจะตรวจสอบรหัส 16 หลักของบัตรเครดิตซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าบัตรเครดิตใบนี้ถูกออกในอเมริกาหรือไม่ ก่อนอนุญาตให้ซื้อ นอกจากนี้ระบบจัดการลิขสิทธิ์ (DRM) ของคนขายแต่ละแห่งที่ทำให้เราอ่าน ebook ได้เฉพาะบนเครื่อง หรือโปรแกรมที่ลงทะเบียนเท่านั้น ทำให้เพียงการ"ฝากคนอื่นซื้อให้"ไม่สามารถทำได้
    โอกาสที่เราจะได้หมายเลขบัตรเครดิตในอเมริกาคงไม่ง่าย แต่ก็มีวิธีอ้อม ๆ เท่าที่นึกออก


    • บริการออกบัตรเดบิตในอเมริกา แล้วให้เราจ่ายเงินจากบัตรเครดิตของเราเข้าไปฝากไว้ก่อน ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เราจะได้ billing address ที่อยู่ในอเมริกามาด้วย ทำให้ตัดปัญหาที่อยู่ในข้อแรกไปได้ (แต่ชั่งใจเรื่องความเสี่ยงกันเอาเอง)
    • ใช้ PayPal สะดวก และเชื่อถือได้ แต่ใช้ได้เฉพาะบางร้านเท่านั้น
    • ฝากซื้อคูปองหรือ gift card ของเวบไซต์นั้น ๆ ที่อาจได้มาจากการฝากซื้อ (บางแห่งก็ตามไปตรวจสอบวิธีการซื้อคูปองอีก เอาเข้าไป) เท่าที่เห็นเวบไซต์ชุมชนนักอ่านบางแห่ง ใช้วิธีโอนเงินทาง PayPal ไปให้คนในพื้นที่ซื้อ แล้วส่งมาให้ (ขึ้นอยู่กับระดับความไว้ใจ) ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เราจะได้เครดิตในการซื้อหนังสือจริง ๆ โดยที่ไม่ต้องมีบัตรเครดิตของอเมริกา
  3. IP address
    ด่านนี้จะว่าผ่านยากที่สุดก็ได้ และในตอนนี้เวบไซต์คนขายแทบทุกแห่งมีการตรวจสอบ IP address ว่าเราอยู่ที่ไหน วิธีการฝ่าด่านจึงเป็นการให้ได้มาซึ่ง IP address ของอเมริกา และส่งมันไปปรากฏบนระบบตรวจสอบของเวบคนขาย การซื้อบริการ VPN ทางเป็นออกทางหนึ่ง แต่มันก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายอีกหนึ่งทอด!
สรุปว่า การฝ่าด่าน Territorial rights นั้น คือการทำให้คนขายเชื่อว่า เรากำลังอยู่ในพื้นที่ที่เขามีสิทธิ์จะขายให้ (ผิดศีลข้อ 4 ตลอดกระบวนการ) แต่ก็ตามมาด้วยความยุ่งยากอีกหลายขั้นตอน และอาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทำให้จุดเด่นทางด้านราคาของ ebook หายไป

จากผลกระทบของกำแพงที่สร้างโดยคนขายนี้ ทำให้คนจำนวนหนึ่ง ที่อุตส่าห์ลงทุนซื้อเครื่องอ่านราคาแพง โดยหวังว่าต้นทุนของการซื้อหนังสือจะถูกลงในระยะยาว เสนอวิธีที่ง่าย และเร็วกว่า นั่นก็คือ "ลืมการซื้อไปซะ" แล้วไปหาจากแหล่งอื่นเอา (ผิดศีลข้อ 2) ซึ่งอาจจะทำให้เราได้ ebook ที่ต้องการภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที แต่ด้วยวิธีนี้ทางฝั่งคนเขียนหนังสือ และสำนักพิมพ์จะกลายเป็นคนเสียประโยชน์เต็ม ๆ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่า คนที่สามารถซื้อเครื่อง ereader มาใช้ได้ เต็มใจที่จะซื้อ ebook อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะมันเป็นการสนับสนุนให้คนเขียน และสำนักพิมพ์ออกหนังสือดี ๆ ออกมาให้เราได้อ่านอีก แต่นั่นก็ตั้งอยู่บนข้อแม้ที่ว่าระบบการขาย ebook ควรเข้าถึงง่ายกว่านี้

สรุปง่าย ๆ ก็คือ คนซื้อพร้อมแล้ว แต่คนขายยังไม่พร้อม คงต้องดูการต่อไปว่าคนขายจะปรับตัวกับเรื่องนี้ได้ยังไงบ้าง

Sunday, September 05, 2010

ว่าด้วยการซื้อ eBook (1): กำแพงภูมิศาสตร์

ในโลกยุคก่อนหน้า ebook การขายหนังสือทั่วโลก เป็นไปตามกติกาการจัดจำหน่ายหนังสือแบบเป็นเล่ม ที่มีการตัดแบ่ง "สิทธิ์ในการพิมพ์และจำหน่าย" ออกเป็นส่วน ๆ ตามภูมิภาคต่าง ๆ บนแผนที่โลก (Territorial rights) โดยสำนักพิมพ์ที่เป็นต้นน้ำจะเป็นผู้มอบสิทธิ์นี้ให้กับสำนักพิมพ์รายย่อย ทำหน้าที่พิมพ์ และขายเฉพาะในภูมิภาคนั้น


เมื่อการขายหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ หรือ ebook โดยใช้อินเตอร์เนตเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ ebook ก็เริ่มเป็นที่นิยมโดยไม่ยาก เพราะมีข้อดีคือ คนอ่านสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว จ่ายเงินซื้อแล้วอ่านได้ทันที โดยไม่ต้องก้าวเท้าออกไปไหน ไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง คนอ่านสามารถเริ่มอ่านได้พร้อม ๆ กับคนในประเทศที่มีการเปิดตัวหนังสือ (นึกภาพคนต่อคิวหน้าร้านหนังสือ เพื่อซื้อ Harry Potter เล่มล่าสุดในวันแรกของการจำหน่าย) ขอให้มีแค่อินเตอร์เนตที่ใช้งานได้ ก็สามารถซื้อและดาวน์โหลดมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอไปรษณีย์ส่งมาเป็นเล่ม

ความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดก็คือ

ในทางทฤษฎี: ebook ทำให้คนเข้าถึงหนังสือได้ง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลง ความจำเป็นของตัวแทนจำหน่ายในระดับภูมิภาคลดลง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติคือ ตัวแทนระดับภูมิภาคพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอง โดยการ"ห้ามขาย ebook" ในภูมิภาคที่ตนเองมีสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายอยู่

เมื่อเป็นเช่นนี้ คนอ่านที่ตั้งใจจะเป็นลูกค้า ebook จึงพบกับข้อความแจ้งว่าไม่สามารถซื้อหนังสือได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในภูมิภาคที่ผู้ขายมีสิทธิ์ขายให้ จากการเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบที่มาของคนซื้อว่ามาจากที่ไหนนั่นเอง

ศึกนี้จึงเป็นการปะทะกันระหว่างเจ้าของตลาดเดิม กับผู้มาใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลง น่าสนใจว่าเจ้าของตลาดเดิมจะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่พฤติกรรม และความต้องการของคนอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในโลกที่"แบน"ลงได้อย่างไรบ้าง

คราวหน้าจะลองเล่าถึงความเป็นไปได้ในการซื้อ ebook ของคนอ่านนอกภูมิภาคครับ

หมายเหตุ: 
  • ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Territorial rights ที่
  • ภาพจาก http://news.bbc.co.uk

Sunday, August 08, 2010

สิ่งที่เปลี่ยนแปลง หลังจากใช้ eReader

หลังจากใช้ BeBook Mini มาประมาณ 1 เดือน ก็พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ ของตัวเอง
  • แบก laptop ไปไหนมาไหนเพียงเพื่อเปิดอ่านหนังสือ ลดลงกว่าเดิม
  • อ่านหนังสือกระหน่ำขึ้น จบไปแล้ว 12 เล่ม ในเวลาประมาณ 5 สัปดาห์ หลังจากที่อ่านหนังสือไม่จบสักเล่มมา 4 เดือน (+ journal วิชาการอีกจำนวนหนึ่ง)
  • อ่านจากโทรศัพท์มือถือลดลง พฤติกรรมแวบไปเช็คเมล์ และ twitter ลดลง อยู่กับการอ่านได้นานขึ้น
  • เพิ่มอัตราการอ่านเนื้อหาขนาดยาว ๆ จากหน้าเวบ เช่น wikipedia ได้จนจบ โดยการ save ไปอ่านข้างนอก
  • ซื้อหลอดไฟ LED พกได้ แบบใช้ถ่านกระดุม สำหรับอ่านตอนกลางคืนเพิ่ม ประหยัดการเปิดไฟดวงใหญ่เพื่ออ่านหนังสือ
  • [updated] อ่านหนังสือ ตอนมือเปื้อนขนมได้ เพราะต้องการแค่นิ้วเดียว ในการพลิกหนังสือ!

Review BeBook Mini eReader

ผมได้อ่าน eBook และเนื้อหาดิจิตอลต่าง ๆ มาตั้งแต่ใช้ PDA และ smartphone ต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ด้วยความสะดวกในการพกพาติดไปกับตัวได้ตลอด แต่ก็มีข้อจำกัดของอุปกรณ์เหล่านี้ นั่นก็คือ หน้าจอของมันมีขนาด 3.2-3.5 นิ้ว ซึ่งถือว่าเล็กเมื่อเทียบกับการอ่านพ็อกเก็ตบุ๊คโดยทั่วไป

กระแสของ iPad และ tablet PC ทำให้พอจะความหวังที่จะได้อ่านเนื้อหาบนอุปกรณ์พกพาจอใหญ่ ๆ บ้าง แต่ก็ติดด้วยราคาและน้ำหนัก ทำให้ลองหันมามอง eReader ซึ่งราคาเริ่มลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จนกระทั่งได้ตัดสินใจสั่ง BeBook Mini มาในที่สุด หลังจากใช้เวลากับมันมาประมาณ 1 เดือนแล้วก็ขอนำมาเล่าประสบการณ์ให้อ่านกันครับ

BeBook เป็น eReader ตระกูลหนึ่ง ที่ผลิตโดยบริษัท Jinke ในประเทศจีน และไปปรากฏตัวในต่างประเทศ ในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น BeBook, LBook, Hanlin, EZReader สามารถสั่งผ่านทางเวบไซต์ http://www.mybebook.com/ ชำระเงินผ่านทาง PayPal ราคา ($199) รวมค่าส่ง ($25) และภาษีขาเข้าอีก 1 พันกว่าบาท แล้วก็ตกประมาณ 7 พันกว่าบาท ใช้เวลาเดินทางจากต้นทางประเทศเนเธอร์แลนด์ 3 วัน ทาง FedEx


ข้อความแรกที่อยู่ในเอกสารหลังจากที่แกะกล่องออกมาคือ คำเตือนว่า หน้าจอ e-Ink นี้มันไม่ใช่ touchscreen.. อย่าได้พยายามกดมัน

อุปกรณ์ที่มากับตัวเครื่องประกอบไปด้วย
  • BeBook Mini ใส่แบตเตอรี่มาเรียบร้อย ความรู้สึกแรกที่ได้จับ.. มันเบาดี ขนาดจะเล็กกว่าพ็อคเก็ตบุคมาตรฐานอยู่เล็กน้อยครับ
  • สายคล้องข้อมือ 1 เส้น
  • หูฟัง 3.5 mm
  • สาย mini USB ไม่มี adaptor แถมมาด้วย
  • ไขควงและน็อต (สำหรับแกะเปลี่ยนแบตเตอรี่)

ทัวร์รอบตัวเครื่อง

ด้านล่างของจอ: มีแป้นตัวเลข ซึ่งจะใช้เป็น input หลักของเครื่อง, ปุ่ม back และ menu/ok
ด้านบน: ช่องใส่ SD card, mini USB และปุ่ม power
ด้านล่าง: ช่องเสียบสายหูฟัง 3.5 mm
ด้านขวา: thumbwheel สำหรับใช้ navigation
ด้านหลัง: ปุ่ม reset และช่องใส่แบตเตอรี่

เปิดเครื่อง

เมื่อเปิดเครื่องก็จะพบกับตัวหนังสือสีดำบนหน้าจอสีขาว ไม่มี backlight ความชัดเจน จะขึ้นอยู่กับแสงสว่างของสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านหนังสือกระดาษ หน้าจอ ความละเอียด 800x600 พิกเซล greyscale 8 ระดับ ขนาดหน้าจอของ BeBook Mini คือ 5 นิ้ว (ตามเส้นทแยงมุม) ถ้าเทียบแล้ว ก็จะเล็กกว่าหน้ากระดาษหนังสือ paperback อยู่เล็กน้อย

ในส่วนติดต่อกับผู้ใช้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ file browser ที่แสดงรายละเอียดของไฟล์ และโฟลเดอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำ และส่วนที่ 2 คือ หน้าแสดงเนื้อหาของหนังสือ เนื่องจากหน้าจอไม่ใช่ touch screen การ input จึงต้องผ่านทางปุ่มต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่อง ในการ navigate ไปตามที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่ซับซ้อนอะไร

ประสบการณ์ "อ่าน"

ตัวหนังสือสามารถแสดงผลได้คมชัดดี สามารถใช้เวลาอ่านติดต่อกันนาน ๆ ได้อย่างสบายตา ขนาดตัวหนังสือ สามารถปรับระดับซูมได้หลายระดับ ให้เหมาะกับความต้องการ ได้โดยเครื่องจะทำการจัดเรียงข้อความ (reflow) ให้ใหม่โดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องปวดหัวกับการ scroll ในแนวซ้ายขวา



การแสดงผลรูปภาพ บนหน้าจอ e-Ink นี้ ไม่เหมาะสำหรับภาพความละเอียดสูง ๆ หรือภาพที่เป็นสี เพราะรายละเอียดจะหายไปเยอะมาก จากข้อจำกัดของหน้าจอเอง แต่ก็ทดแทนด้วยข้อดี ของการประหยัดพลังงาน โดยเราสามารถเปิดหน้าหนังสือทิ้งไว้ได้เป็นสัปดาห์ โดยตัวเครื่องแทบจะไม่กินพลังงานเลย ลดความกังวลในการชาร์จบ่อย ๆ และการพกอุปกรณ์ชาร์จติดตัวไปได้มาก

การกดเปลี่ยนหน้า สามารถทำได้จากหลาย ๆ ปุ่ม ที่อยู่รอบเครื่อง (thumbwheel ทางด้านขวา, Next/Previous page ทางด้านซ้าย และปุ่มเลข 9, 10 ทางด้านล่าง) ทำให้สามารถถือได้หลายท่า มือขวา หรือซ้าย ในช่วงแรก ๆ จะรู้สึกหน่วง ๆ ในเรื่องของความเร็วในการเปลี่ยนหน้าอยู่บ้าง เพราะอาจใช้เวลาประมาณ 0.5-1 วินาที โดยประมาณ ในการกดเปลี่ยนหน้าแต่ละครั้ง ไม่ได้ไหลลื่นเหมือนอย่างที่เราคุ้นเคยกับการใช้อ่านบน smartphone หรือ หน้าจอ PC ถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็คงใช้เวลาพอ ๆ กับการขยับมือ พลิกหน้าหนังสือก็พอได้อยู่

เหตุผลที่ผมตัดสินใจเลือก BeBook เพราะเห็นตามคุณสมบัติที่แจ้งไว้ว่า รองรับไฟล์ format ต่าง ๆ ได้หลากหลาย (pdf, doc, html, bmp, jpg, png, gif, tif, djvu, fb2, wol, txt, epub, ppt, lit, chm, rar, zip, mp3, mobi, prc, htm) ซึ่งมากกว่าที่ eReader ตระกูลอื่น ๆ สนับสนุน หลาย ๆ format โดยเฉพาะ format ที่เกิดมาในยุคของ ebook สามารถทำงานบน BeBook ได้อย่างน่าประทับใจ เช่น epub, fb2, txt และ prc อาจจะเป็นเพราะเครื่องถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการอ่านเนื้อหาที่ไหลไปเรื่อย ๆ (เช่น นิตยสาร, นวนิยาย) ที่ไม่มี text formatting หรือ page layout ที่ซับซ้อนมากนัก

แต่สิ่งที่ผมค่อนข้างผิดหวังก็คือการทำงานในหลาย format ที่ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น ไม่สามารถแสดงไฟล์ html ที่มี layout ที่ซับซ้อน และส่งผลไปยัง format ที่ใช้ html เป็นพื้นฐานอย่าง chm จนไม่สามารถเปิดอ่านเนื้อหาที่ต้องการได้ในบางไฟล์ เพราะ layout เพี้ยนจนอ่านไม่ได้ ต้องอาศัยการ convert ให้กลายเป็น pdf บน PC ก่อน

ตัวอย่าง pdf จากนิตยสาร The Economist เปิดแบบ original layout

ในส่วนของ pdf สามารถอ่าน pdf ส่วนใหญ่ได้อย่างไม่มีปัญหา โดยเฉพาะไฟล์ที่ให้ความสำคัญกับการ reflow เนื้อหา อย่างเช่น นิตยสารต่างประเทศ

การ zoom ทำให้กลายเป็น reflow mode
ปัญหาที่พบในการใช้งานกับ pdf ก็คือ ใน original layout ตัวหนังสือจะเล็กเกินไป เพราะจอแค่ 5 นิ้ว (ความคิดแรกหลังจากเห็น layout เต็ม ๆ ของ original layout ก็คือ ถ้าได้เปิดบนจอ 9 นิ้วก็คงจะเยี่ยมไปเลย) นอกจากนี้การขยาย (zoom) เป็นการขยายตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น และข้อความถูก reflow ใหม่ทำให้ไม่สามารถดูเอกสารแบบ layout เต็ม ๆ แบบขยายได้ ซึ่งทำให้อรรถรสการดูข้อมูลที่เป็นตาราง และแผนภูมิต่าง ๆ หายไป
 

ภาษาไทย
การสนับสนุนภาษาไทย คงจะเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจซื้อ eReader มาใช้งานของหลาย ๆ คน จากการใช้งานพบว่า ใน firmware มีการ install font ภาษาไทยมาให้เรียบร้อย แต่การจัดเรียงข้อความจาก text file ธรรมดา ยังเจอปัญหาสระลอยอยู่
สระลอยใน text file ภาษาไทย (UTF8)

แต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะการจัดเรียงข้อความสำหรับไฟล์ pdf สนับสนุนภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น การเอาเนื้อหาภาษาไทยมาเปิด ก็เพียงแต่นำข้อความที่ต้องการ มาแปะลงในโปรแกรม word processor ต่าง ๆ แล้ว บันทึกเป็น pdf หรือการใช้เครื่องมืออย่าง cups-pdf หรือ cutepdf มาช่วยก็สามารถทำได้แล้ว

ภาษาไทยใน pdf ที่บันทึกผ่าน OpenOffice Writer

ความสามารถทางสื่ออื่น ๆ

นอกจากจะสามารถใช้อ่าน ebook แล้ว BeBook Mini ยังมีความสามารถในการเล่นไฟล์เสียง mp3 ได้อีกด้วย แต่ไม่มี built-in speaker ในเครื่อง จะต้องต่อแจ็ค 3.5 mm เข้ากับตัวเครื่องเท่านั้น สำหรับคุณภาพเสียงของเครื่องที่ทำการทดสอบนี้ ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับ portable player อื่น ๆ แม้ว่าจะใช้ไฟล์ที่มี bitrate ขนาดสูงแล้วก็ตาม หลังจากทดลองฟังไม่ถึง 5 นาทีก็ต้องถอยก่อนดีกว่า

สรุปประสบการณ์การใช้งาน BeBook Mini และความเห็นเกี่ยวกับ eReader ของผม

ในปัจจุบันตลาด eBook และ eReader กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ของการลดราคาตัวเครื่อง eReader เอง และการสร้างเครือข่ายเนื้อหาต่าง ๆ ด้วย ราคาที่เริ่มน่าสนใจมากขึ้น ความสามารถที่เพิ่มขึ้น ความสะดวกในการพกพา และกินพลังงานต่ำ ทำให้ eReader จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับหนอนหนังสือทั้งหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ

BeBook Mini เป็น eReader รุ่นประหยัด น้ำหนักเบา พอที่จะสามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ ด้วยความสามารถของ e-Ink ที่ไม่กินพลังงาน และให้ความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนการอ่านหนังสือบนหน้ากระดาษ ทำให้ผมรู้สึกคุ้มค่า ที่จะพกมันไปด้วยในโอกาสต่าง ๆ เพื่อ "อ่าน"

เนื่องจากมันไม่ได้มีความสามารถทางด้าน multimedia, wireless หรือ internet connection เลย ทำให้คุณจะตัดสินใจซื้อมันมาเพื่อ "อ่าน" เท่านั้น

แม้ว่าจะมีจุดเด่นที่สามารถอ่านไฟล์ได้หลากหลาย format แต่ความเหมาะสมที่จะเอามาอ่านบนหน้าจอ 5 นิ้วนี้ คงจะเป็นเนื้อหาที่มีการจัดเรียงหน้าที่ไม่ซับซ้อนมากนัก และมีเนื้อหาเป็นแบบไหลไปเรื่อย ๆ แต่ไม่เหมาะกับการอ่านแผนภูมิ ตาราง รูปภาพ ที่มีความซับซ้อน และการอ่านไฟล์ในหลาย ๆ format ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก ท่านที่กำลังพิจารณาตัดสินใจซื้ออาจจะต้องเตรียมใจเอาไว้บ้าง หรืออาจจะต้องทำการบ้านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปลงไฟล์ไปเป็น format ที่ไว้ใจได้อย่าง pdf, epub, txt, mobi, pdb

Spec ของ BeBook mini เป็นดังนี้
  • น้ำหนัก: 160 g
  • หน้าจอ: e-Ink 5 นิ้ว (ตามเส้นทแยงมุม) ความละเอียด 800x600 pixels ขาวดำ
  • Internal storage: 512 MB (ใส่ SD card เพิ่มได้ถึง 4GB)
  • ลำโพง: ไม่มี
  • เชื่อมต่อผ่านทาง USB 2.0
  • Bluetooth: ไม่มี
  • WiFi: ไม่มี
  • Web browser: ไม่มี 
Links

    Sunday, July 18, 2010

    ชีวิตผกผัน เพราะข้อความที่ post บน Facebook

    ชีวิตผกผัน เพราะข้อความที่ post บน Facebook อาจไม่ใช่เรื่องใหม่

    คำเตือนของโอบามา:
    1 ปีก่อน (กันยายน 2009) ประธานาธิบดีโอบามา เตือนเด็ก ๆ ว่า ให้เด็ก ๆ ระวังสิ่งที่จะ post ลงไปใน Facebook เพราะมันอาจถูกขุดขึ้นมา แล้วมีผลกับชีวิตของคุณในภายหลัง
    "Be careful what you post on Facebook. Whatever you do, it will be pulled up again later somewhere in your life," -- Barack Obama

    การลบข้อมูลที่ post ไปแล้ว ไม่ได้ทำให้ข้อมูลหายไป
    จากประสบการณ์บน cloud และ social network ทำให้เรารู้ว่า แม้ว่าเราจะลบข้อมูลทิ้ง มันก็ยังปรากฏอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบน cloud:
    ถ้าคนที่เคยเปิดดูเนื้อหาและเก็บ URL เอาไว้ ก็ยังคงสามารถเข้าถึงเนื้อหาอันนั้นได้อยู่ ผ่านทาง CDN (Content Delivery Network) อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่ง

    Internet anonymity
    การซ่อนตัวบนโลกออนไลน์ (Internet anonymity) ไม่มีวันทำได้ 100% เพราะมันจะทิ้งร่องรอยเอาไว้เสมอ การใช้ anonymous proxy เพื่อซ่อนตัว ไม่ได้ทำให้เราเป็นมนุษย์ล่องหนอย่างที่บางคนเข้าใจ

    อนาคตของ cloud computing:
    เมื่อใดที่ข้อมูลถูกนำขึ้นบน cloud มันจะไม่อยู่ ณ ที่ใดที่เดียว แต่มันจะไปอยู่ทุก ๆ ที่ และไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถควบคุมชะตากรรมของเนื้อหาชิ้นนั้น ๆ ได้

    Thursday, June 10, 2010

    หนังสือออกใหม่: Dan Ariely, Yan Matel และ Dune

    หนังสือออกใหม่ช่วงนี้ มากมาย

    The Upside of Irrationality
    หนังสือเล่มใหม่ของ Dan Ariely เจ้าของผลงาน Predictably Irrational ที่หยิบเอาการศึกษาเกี่ยวกับ จิตวิทยา และพฤติกรรมของมนุษย์ มาเล่าได้อย่างน่าสนใจ เช่น
    • น้ำอัดลมที่แช่ไว้ในหอพัก มักจะถูกขโมย ในขณะที่เงินจำนวนเท่ากันไม่ถูกขโมย
    • เซลล์ขายบ้าน มักพาเราไปดูบ้าน 3 หลัง โดย 2 หลัง มีสภาพคล้ายกัน แต่สภาพแตกต่างกัน และหลังที่ 3 ที่ไม่เข้าพวก นำไปสู่คำแนะนำในการหาเพื่อนไปเที่ยวผับ
    • สินบน และสิ่งล่อใจ อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์

    เนื้อหาอื่น ๆ สำหรับคนที่สนใจ Predictably Irrational: ช่างคุย Podcast ตอนที่ 135

    TED Talk: Dan Ariely asks, Are we in control of our decisions?


    น่าสนใจว่าคราวนี้จะมีอะไรให้แปลกใจอีก

    The Winds of Dune
    ภาคต่อจากมหากาพย์ Dune เป็นเรื่องของ ตระกูล Artreides ที่เกิดขึ้นระหว่างเนื้อเรื่องของ Dune Messiah (Paul Muad'Dib หายสาบสูญไปในทะเลทราย) และ Children of Dune (สองพี่น้อง Leto และ Ghanima Artreides ท่ามกลางแรงกดดันทางการเมืองและความเชื่อจนนำไปสู่ต้นกำเนิดของ God Emperor of Dune) เขียนโดยเจ้าของแฟรนไชส์ เจ้าเดิม Brian Herbert และ Kevin J. Anderson

    Beatrice and Virgil
    โดย Yan Matel คนที่สามารถเขียนเรื่อง Life of Pi เด็กชาย ที่ใช้ชีวิตอยู่กับเสือโคร่งกลางทะเล หลังเรือแตกที่แปลกและชวนติดตาม มาคราวนี้ เขียนเกี่ยวกับ ลา ลิง และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์.. น่าสนใจตั้งแต่ชื่อคนเขียน

    Tuesday, May 18, 2010

    Downgrading PHP to 5.2 in Lucid

    ปัญหาหลัง upgrade Ubuntu เป็น 10.04 Lucid Lynx คือ ได้ PHP เป็นเวอร์ชัน ล่าสุด (5.3) แต่ Drupal ทั้ง 5 และ 6 มันยังไม่ support พอเริ่มใช้งาน ก็จะเต็มไปด้วย error และ warning

    เนื่องจาก repositories ของ Lucid มันไม่มี PHP 5.2 อยู่แล้ว ก็เลยต้องย้อนกลับไปใช้ repositories ของ Karmic แทน
    หลังจากค้น ๆ ก็เจอเป็น script สำเร็จรูปตามด้านล่าง run as root เป็นอันจบ

    #! /bin/sh
    php_packages=`dpkg -l | grep php | awk '{print $2}'`

    sudo apt-get remove $php_packages

    sed s/lucid/karmic/g /etc/apt/sources.list | sudo tee /etc/apt/sources.list.d/karmic.list

    sudo mkdir -p /etc/apt/preferences.d/

    for package in $php_packages;
    do echo "Package: $package
    Pin: release a=karmic
    Pin-Priority: 991
    " | sudo tee -a /etc/apt/preferences.d/php
    done

    sudo apt-get update

    sudo apt-get install $php_packages

     เจอมาจาก KAndy-Live และ Stjin

    Friday, May 07, 2010

    แก้ปัญหา EDGE ไม่วิ่ง บน Android 2.1 [Updated 4/9/10]

    [Updated: 4/9/10] ไปเจอวิธีที่ง่าย และสะดวกกว่านี้มาแล้วครับ ใช้ APN switcher ตัวนึง ชื่อว่า SMODA widget ซึ่งใช้หลักการที่ต่างจาก APN switcher ตัวอื่น ๆ (ตามคำโปรยบอกว่าใช้ undocumented API) ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่อง EDGE ไม่วิ่งอีกต่อไปครับ

    ข้างล่างนี่เป็นเนื้อหาเก่าครับ เอาไว้ใช้เป็นทางเลือกอ้อม ๆ ก็แล้วกัน :)



    หลังจาก upgrade Samsung Galaxy Spica เป็น Android 2.1 ปัญหาที่เจอเป็นอันดับแรกก็คือ เมื่อปิด EDGE ด้วยโปรแกรม APNDroid หรือโปรแกรม APN disabler อื่น ๆ หรือหลังจากที่สลับไปใช้งาน wifi ชั่วขณะ เมื่อกลับมาใช้ EDGE ใหม่ จะเหลือแต่ notification ของ EDGE ที่ข้อมูลไม่วิ่ง ต้องทำการ reboot เท่านั้น จึงจะกลับมาใช้งาน EDGE ได้ตามปกติ

    ปัญหามันเกิดมาจาก บน Eclair นี้ OS จะพยายามเชื่อมต่ออินเตอร์เนทโดยใช้ APN อันเดิมอยู่สักพัก DNS ที่ถูกตั้งไว้เดิม จะหายไป (โปรแกรม APN disabler ต่าง ๆ ที่ใช้หลักการเปลี่ยน APN ให้เพี้ยนไป ก็เลยติดร่างแหไปด้วย)

    ในเมื่อยังไง ๆ ก็จำเป็นต้องปิด EDGE เพราะไม่ได้ใช้ unlimited data plan เท่าที่ได้รับคำแนะนำ และลองค้นดู วิธีแก้ มีดังนี้
    วิธีที่ 1: reboot เครื่องทุกครั้ง ที่ต้องการกลับมาใช้ EDGE หลังจากที่ใช้ APNDroid ปิด (ไม่สะดวกอย่างมาก)

    วิธีที่ 2 (โดยคุณ @icez): ทำการตั้ง DNS ใหม่เมื่อกลับมาใช้ EDGE อีกครั้ง แต่ใช้ได้กับเครื่องที่ root แล้ว

    วิธีที่ 3: สร้าง Access Point หลอก โดย สร้าง Access Point เปล่า ๆ (blank APN) ไว้ สลับใช้งานกับอันจริง

    1. สร้าง APN ใหม่ โดยที่หน้า Home [Menu]->Settings->Wireless & networks->Mobile networks->Access Point Names->[Menu]->New APN
    2. ใส่รายละเอียด:
    Name: blank (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ต้องการ)
    APN: 123 (ตัวเลขมั่ว ๆ)
    3. [Menu]->Save

    หลังจากนี้ เมื่อต้องการปิด EDGE ก็เข้าไปในหน้าจอตามเส้นทางข้อ 1. แล้วก็เลือก blank แทน APN ที่เป็น default อยู่ เมื่อต้องการเปิด EDGE ก็สลับกลับมา

    ปัญหาที่เจอต่อมาก็คือ กว่าจะไปถึงหน้าจอในข้อ 1. มันแตะหน้าจอหลายครั้งเกิน เลยต้องหาตัวช่วย

    4. Download โปรแกรม Any Cut จาก Market

    5. เปิดโปรแกรม Any Cut เลือก New shortcut->Activity->APNs->Ok ก็จะได้ shortcut icon บน home screen หลังจากนี้แตะครั้งเดียวถึงที่หมาย

    ทดลองใช้วิธีนี้ มา 3-4 วัน สามารถเปิดปิด EDGE ได้ราบรื่นดี แต่ยังไม่ได้ลองกับเครื่องรุ่นอื่น ติดปัญหาสุดท้าย คือ shortcut ที่สร้างจาก Any Cut มันจะหยุดทำงานหลังจาก reboot ยังแก้ไม่หาย

    Thursday, April 29, 2010

    Ender's saga: Ender in exile

    Ender in Exile เป็นผลงานเล่มล่าสุดของ Orson Scott Card จัดเป็นส่วนหนึ่งของซีรี่ย์ในตำนาน Ender's Game ซึ่งเติมเต็มเรื่องราว ที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของ Ender's Game กับ Speaker for the dead

    เนื้อเรื่องเป็นพฤติการณ์ของ Ender Wiggin ภายหลังสิ้นสุดสงครามกับพวกแมลง สถานการณ์บนโลกเต็มไปด้วยความแตกแยกอีกครั้ง เหล่านักเรียนจาก Battle School กลายเป็นหมากสำคัญของสงครามครั้งใหม่ Ender ถูกมรสุมการเมือง ที่ Peter Wiggin มีส่วนสร้างขึ้น บีบให้เดินทางออกไปพร้อมกับ Valentine พี่สาวคู่ทุกข์คู่ยาก บนยานบุกเบิกเพื่อสร้างอาณานิคมบนดวงดาวที่เคยเป็นของพวกแมลง นำไปสู่การเผชิญหน้าบนเกมการเมืองครั้งใหม่ ก่อนที่เรื่องจะดำเนินเข้าสู่ช่วงที่ 2 ซึ่งเป็นการเดินทางครั้งต่อมา ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับคำตอบของคำถามที่ค้างคาใจของเขามานานว่า ทำไมพวกแมลงจึงปล่อยให้เขาชนะสงคราม นำไปสู่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายของการเดินทางของเขาไปตลอดชีวิต และเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้รับรู้กันไปแล้วในซีรี่ย์ Ender's saga

    หลังจากอ่านจบ พบว่า ความน่าสนใจของเนื้อเรื่องกลับไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Ender โดยตรง หากแต่เป็นข่าวคราวบนโลกในช่วงเกือบ 100 ปี หลังจากที่ Ender ออกเดินทางด้วยความเร็วกว่าแสง ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง และการเริ่มต้นของยุคที่สามารถรวมประชากรของโลกเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จภายใต้ Peter Wiggin, The Hegemon และความเป็นไปของนักเรียนแห่ง Battle School ที่ถูกส่งมาถึง Ender ในช่วงระยะเวลา 2 ปีในการรับรู้ของ Ender ก่อนที่จะค้นพบในภายหลังว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับอดีตมือขวาของเขาอย่าง Bean บนโลกอันไกลโพ้นที่เขาจากมานั้น จะเกี่ยวข้องกับตัวเขาเกินกว่าที่จะคาดถึง

    แม้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน Ender in Exile จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางของ Ender เป็นหลัก และเกิดขึ้นต่อเนื่องกับเหตุการณ์ใน Ender's Game ก็ตาม แต่ผมพบว่าเนื้อเรื่องได้เฉลยความเป็นไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลก และความเป็นไปของ Bean และพรรคพวก ที่เกิดขึ้นในช่วง Shadow series ออกมาพอสมควร จึงน่าจะถูกจัดลำดับในการอ่านอยู่หลัง Shadow serie

    ณ เวลาที่ Ender in Exile จบเล่ม ยังทิ้งช่วงเวลาอีกหลายร้อยปี (ประมาณ 20 ปีของ Ender) ไว้ให้ผจญภัยกันต่อได้อีก

    Wednesday, April 28, 2010

    ประสบการณ์ การ upgrade firmware Samsung Galaxy Spica i5700

    หลังจากที่ Samsung ประกาศว่า  อย่างเป็นทางการ ในที่สุดผู้ใช้ในไทย ก็สามารถ upgrade firmware ของ Samsung Galaxy Spica i5700 เป็น Android 2.1 "Eclair" ผ่านทางอินเตอร์เนต ได้เองแล้ว โดยผ่านทาง Samsung New PC Studio

    หลังจากที่ล้มลุกคลุกคลานกับการ upgrade อยู่หลายรอบ
    • ต้องใช้ Windows PC เพราะต้องลงโปรแกรม Samsung New PC Studio
    • Wizard มี 4 ขั้นตอน คือ 1.ตรวจความพร้อมของโทรศัพท์ 2.download firmware 3.update firmware 4.เสร็จ -- ดูเหมือนง่าย
    • ขั้นที่ 1 มีถามว่า backup ข้อมูลแล้วหรือยัง แค่นั้น แต่ไม่มีเตือนว่าข้อมูลจะหาย
    • ในขั้นที่ 2 โปรแกรมจะดาวน์โหลด firmware จาก server บนอินเตอร์เนททุกรอบ ถ้า update ล้มเหลว ก็ต้องกลับมาดาวน์โหลดใหม่ทุกรอบ (โดนไป 5 รอบ เพราะปัญหาในขั้นต่อไป) ทำให้รู้สึกว่า unofficial ROM มัน up ง่ายกว่ามาก เพราะดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่องได้
    • ขั้นที่ 3 update firmware พอ Spica reset เพื่อเข้า Download mode มันไม่ยักเข้า ค้างอยู่ที่โลโก้ สุดท้ายต้องเข้า Emergency recovery ถอดถ่านออก แล้วกดสูตรเข้า Download mode (volume down+camera+power on) เอง ตรงนี้ไม่มีตรงไหนใน wizard บอกเลย (ถ้าไม่เคยอ่าน unofficial ROM upgrade มาก่อน คงไม่รู้)
    • พอตอน install firmware ลงไปในโทรศัพท์ มันเดี๋ยวเดียวเท่านั้น

    สรุป ประสบการณ์ upgrade official firmware ครั้งนี้

    • พิธีการมากเกิน หา Windows, ลงโปรแกรม
    • เป็น Wizard ที่มีปัญหา คำแนะนำ และคำเตือน น้อยกว่าที่ควรจะมี
    • เสียเวลาไปกับการดาวน์โหลด firmware ซ้ำ ๆ
    • รู้สึกว่า unofficial ROM upgrade ดูจะมีปัญหาน้อยกว่าด้วยซ้ำ
    • ผลที่ได้ คุ้มค่ากับความยุ่งยาก ทำงานได้เร็วขึ้น และทำงานดีขึ้น

    Sunday, March 28, 2010

    Food, Inc.

    Youtube HD Trailer

    Food Inc เป็นสารคดีแนวกระตุกความคิดในสิ่งที่อยู่รอบตัว และชีวิตประจำวัน ให้เปลี่ยนพฤติกรรม (ดูแล้วให้ความรู้สึกประมาณ An Inconvenient Truth และ Supersize me) เปิดเผยหลังฉากของอุตสาหกรรมอาหาร ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุน ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าของวงจรการบริโภค ไปจนเราแทบจำไม่ได้ แม้ว่าตัวอย่างในสารคดี จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่นำเสนอก็มีบางประเด็นที่เข้ากับสถานการณ์ของบ้านเราได้ไม่น้อย

    เมื่อการขับเคลื่อนเป็นไปโดยทุน เกษตรกรถูกแปรสภาพเป็นทาสเงินกู้ และแรงงานในสายการผลิต โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เป็นคนกำหนดวิธีการผลิต โดยใช้เหตุผลทางด้านเทคโนโลยี แต่ราคาผลผลิตกลับถูกกดจนเตี้ยติดดิน เพราะถูกกระตุ้นให้เกิด overproduction (คุ้น ๆ)

    แต่การผลิตแบบที่ภาคอุตสาหกรรมให้การสนับสนุน (เลี้ยงไก่จำนวนมาก แออัดในพื้นที่ปิดแคบ มืด ให้กินอาหารสำเร็จรูป ไม่ได้ออกกำลัง อัดยาปฏิชีวนะ และฮอร์โมน แล้วบอกว่าเป็นวิธีที่ถูกในการป้องกันโรคระบาด -- คุ้นมาก) ต้องทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า มันส่งผลดีต่อผู้บริโภค ในแง่ของการควบคุมโรคติดต่อจริง ๆ หรือด้วยเหตุผลเพพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับผู้ผลิตกันแน่

    ด้วยระบบที่เป็นอุตสาหกรรม (ผลิตจำนวนมาก และจำเป็นต้องมีมาตรฐาน) และการให้ความสำคัญของสิทธิผู้บริโภค ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์กับผู้บริโภค (กรณีการปนเปื้อนของ E.coli และ salmonella ในสารคดี) จึงสาวกลับไปหาผู้รับผิดชอบได้ แต่กว่าจะเก็บสินค้าออกจากตลาดก็ปาเข้าไป 2 สัปดาห์ ถ้าเปรียบเทียบกับบ้านเรา มีโรคที่เกิดจากอาหารเต็มไปหมด แต่ไม่ได้มีประเด็นฟ้องร้องกัน และการตรวจสอบก็คงทำไม่ได้ง่ายนัก เพราะจากกรณีที่เกิดขึ้นจริงในเมืองไทยก็คือ มีเด็กท้องเสียหลังจากกินอาหารอย่างเดียวกัน คำตอบที่ได้จากการโทรไปแจ้งที่กรมควบคุมโรคก็คือ มีไข้ขึ้นแล้วค่อยโทรมา!

    อย่างไรก็ตาม สารคดีก็ได้เสนอทางออกให้กับผู้บริโภค ส่งสัญญาณให้กับผู้ผลิตให้เปลี่ยนแปลง ซึ่งทางออกก็คือผลผลิตจาก organic farm (ราคาน่าจะลดลงซักหน่อย)

    Official site

    แถมท้ายด้วย วิดีโอ Dan Barber แห่ง TED Talks

    Saturday, February 27, 2010

    Samsung Galaxy Spica i5700: Hand-on experience

    Samsung Galaxy Spica เป็น Android รุ่นราคาไม่โหดร้ายมากนัก มีความสามารถที่น่าสนใจอยู่ครบ OS ที่ใช้คือ Android 1.5

    • HSDPA (2100 - ในไทยก็ TOT)
    • Google experience
    • ส่วน GPS ยังไม่ค่อยตื่นเต้นกับมันเท่าไหร่ (เดี๋ยวไปลอง augmented reality ก่อน)


    ขอแสดงความเห็นในบางเรื่อง นอกเหนือไปจาก ความเร็ว หน้าจอ การใช้งานทั่วไป ก็แล้วกัน

    Google Experience
    ที่จะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ก็คือ Google Experience

    • Calendar & Contact sync: แก้ปัญหา การมีข้อมูล calendar และ contact หลายชุด (Outlook, Ovi, Google) ได้ชะงัด มาจัดการบน Google เสียที่เดียว แม้ว่า Google จะสนับสนุนการ sync ข้อมูล contact บน Symbian แต่จากประสบการณ์ใช้งานมีการสะดุดบ่อยครั้ง ส่วน Outlook กับ Windows mobile นี่ช่วงหลัง ๆ ผมมีปัญหาเรื่องรายชื่อซ้ำบ่อย ๆ
    • GMail: แม้ว่าจะมีโปรแกรม Email (สนับสนุน POP3, IMAP) ที่ติดมากับ Android อยู่แล้ว แต่สิ่งที่โปรแกรม GMail มันเป็น Push Email ทำงานอยู่ใน background ตลอดเวลา (สามารถตั้งปิดเปิดได้) งานเข้าได้แบบ realtime ถ้าเปิดตลอด
    • Youtube: ยังไม่ได้มีโอกาสลองจริงจังเสียที เพราะหาอินเตอร์เนทที่เร็วขนาดเล่น Youtube ได้โดยไม่กระตุกให้ลองได้มากนัก เข้าใจว่าตัวโปรแกรมใช้วิธิโหลดไฟล์ mp4 มาเล่นโดยไม่ผ่าน flash 
    • Google Maps: ของเดิมเคยใช้อยู่บน platform อื่น เป็นครั้งแรกที่ได้ลองกับ GPS
    • Google Reader: อันนี้ไม่ได้อยู่ใน Google experience ที่มากับเครื่องโดยตรง แต่ด้วยประสิทธิภาพของ web browser ที่ถูกยกให้เป็นคู่แข่งกับ iPhone Safari ทำให้สามารถใช้ Google Reader ในแบบหน้าตาที่คล้ายกับการใช้บน PC ไปลองกันได้ที่ http://www.google.com/reader/i
    • GTalk: อันนี้คงไม่ได้เป็นจุดเด่นของโปรแกรมชุดนี้เท่าไหร่ เพราะมี app ตัวอื่นที่สามารถเอามาลงได้เช่นเดียวกัน


    ปัญหา


    • เนื่องจากเป็นรุ่นออกใหม่ ไม่ใช่พิมพ์นิยม หา case ใส่ได้ยากพอควร ขนาดของ case ของรุ่นที่ใส่แทนกันได้ก็คือ i7500 แต่รูของปุ่มต่าง ๆ จะไม่ตรง ซื้อมาเจาะเองได้ มีขายที่มาบุญครอง แต่ต้องอดทนนิดหนึ่ง เดินถามหาแล้วไม่เจออย่าเพิ่งท้อ
    • ไม่ support ไฟล์ office document มาตั้งแต่เกิด แต่ต้องลงโปรแกรม (Doc To Go) เพิ่มเติม ผู้ใช้ที่ย้ายมาจาก Windows Mobile อาจจะรู้สึกแปลก ๆ อยู่บ้าง
    • ความสามารถทางด้าน multimedia เป็นเรื่องที่ Android ยังถูกโจมตีอยู่บ่อย ๆ สำหรับการเล่นไฟล์เสียง และ podcast ไม่มีปัญหามากนัก เพราะสนับสนุน format พิมพ์นิยม (wav, mp3, ogg) ครบ แต่เรื่องวิดีโอนี่ยังต้องปรับปรุง เพราะเล่นได้แค่ mp4 กับ 3gp แถมลองจับไฟล์ mp4 ขนาด HD โยนลงไปให้มันเล่นก็พบว่าไม่สามารถเล่นได้
    • ดังนั้นการเล่นไฟล์วิดีโอ จึงต้องการการแปลงไฟล์ให้อยู่ในรูปแบบของ Android-friendly ซะ ซึ่งก็มีโปรแกรมสำเร็จรูปบน Windows ออกมาให้ใช้แล้ว ส่วนวิธีการบน linux จะลองเรียบเรียงมาเล่าให้ฟังอีกที โดยเฉพาะการเอาวิดีโอบน Youtube มาเก็บไว้ดูแบบ offline

    Sunday, February 21, 2010

    Android phone.. ไม่รอแล้ว

    หลังจากที่กลับไปใช้โทรศัพท์ที่ไม่มี touch screen และไปหลงไหลกับ hardware keyboard อยู่พักใหญ่ ข่าวของโทรศัพท์ที่ใช้ Android ก็ออกมาอยู่เรื่อย ๆ แถมบางตัวมี hardware keyboard เสียด้วย ไหนจะข่าว 3G ก็ทำให้ต้องหยุดดูเป็นพัก ๆ

    สุดท้าย หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองที่จะ "ไม่รอมันแล้ว"

    เหตุผล
    • 3G ของค่ายมือถือยังถูกแช่แข็ง ของ TOT ก็ยังถูกจำกัดทั้งพื้นที่การใช้งาน และการข้ามเครือข่าย ถ้าจะย้ายก็ต้องเปลี่ยนเบอร์ ยังไม่อยากใช้หลายเบอร์
    • ราคา data package 3G ยังแพงอยู่ ต่อให้มี 3G ให้ใช้ ก็อาจจะต้องก้มหน้าใช้ GPRS/EDGE ต่อไปอยู่ดี
    • ความถี่ที่จะได้ใช้กับค่ายที่ใช้โทรศัพท์ที่ใช้อยู่เดิมจะเป็นความถี่อะไร ก็ยังไม่ confirm กัน 100% มันมีผลกับการเลือกโทรศัพท์เหมือนกัน เพราะใบอนุญาตยังไม่ออก ถ้าจะรอเล็งเลือกความถี่ให้เป้าให้ตรงก็ยังมีโอกาสพลาด
    • hardware keyboard ที่มีออกมา (G1, Droid series)มันก็ยังพิมพ์ไทยไม่ได้อยู่ดี (อันนี้ไม่รู้ว่า LG กับ Wellcom จะทำความฝันของคนรัก hardware keyboard ให้เป็นจริงได้หรือเปล่า)
    • จด ๆ จ้อง ๆ android ราคาประหยัดอยู่หลายตัว แต่มันก็มี spec เทพออกมาทั้ง Nexus One, HTC Desire, HTC Legend, Samsung Halo i8250 เห็นแล้วก็อยากได้ แต่เห็นราคาแล้วยังไม่อยากกินแกลบ

    เมื่อหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองได้ขนาดนี้แล้ว ก็ตัดสินใจเลือกซะ
    Samsung Galaxy Spica i5700

    Sunday, February 14, 2010

    Apple iPad keynote: Adjectives version

    หลังจาก iPad keynote ออกไม่นาน ในที่สุดก็มี Adjectives version ที่รอคอย



    ต้องร่ายมนต์ยาวกว่าครั้งก่อนตั้ง 1 นาที ฤา Apple จะเสื่อมมนต์ขลัง?

    Wednesday, January 13, 2010

    The Oatmeal

    เป็นเว็บการ์ตูน หลายช่อง เขียนโดย web designer นามปากกาเดียวกับชื่อเว็บ

    อ่านเจอครั้งแรกใน Gizmodo ในหัวเรื่อง Why I Believe Printers Were Sent From Hell To Make Us Miserable ได้อารมณ์ anti-social มากมาย (ราคาหมึก inkjet ยังคงเป็นเรื่องที่มีคนพูดถึงอยู่เรื่อย ๆ)

    The Zombie Bite Calculator

    Created by Oatmeal


    ทำการสมัคร feed ทันทีที่อ่านจบ!




    เรื่องอื่นที่น่าสนใจ
    ที่มา: theoatmeal.com

    Wednesday, January 06, 2010

    "คำหวาน" & "Playing Love"

    จดไว้กันลืม:

    ... ฉัน นั่งอยู่กับเครื่องดนตรี ตามองตรงไปข้างหน้า

    เธอ เดินช้า ๆ ผ่านเข้ามาในลานสายตา

    ฉัน เริ่มเล่นเครื่องดนตรีในมือ ...


    ท่วงทำนอง ดังขึ้น ณ ที่นี้ เป็นครั้งแรก และอาจเป็นครั้งเดียวบนโลกใบนี้...

    เห็นครั้งแรก: "คำหวาน" ใน โหมโรง, เห็นครั้งที่ 2: "Playing Love" ใน The Legend of 1900







    Note: