หลังจากที่ผมได้มีโอกาสจับแบบเต็ม ๆ และถ่ายรูป Kindle 3rd gen ตัวนี้ ได้ไม่กี่ชั่วโมง ก็ปรากฏรีวิวฉบับเต็มที่ blognone เป็นที่เรียบร้อย entry นี้ก็เลยเป็นการจับมามองเป็นบางมุม และเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 ที่ผมตัดสินใจเป็นเจ้าของก่อนหน้านี้ก็แล้วกัน
Kindle 3rd gen ตัวที่ได้ทดลองนี้เป็นรุ่น WiFi + 3G (spec เต็ม ๆ จาก Amazon) ครับ
1. รูปร่าง และน้ำหนัก
หน้าจอขนาด 6 นิ้ว และคีย์บอร์ด full QWERTY ทางด้านล่าง ทำให้ตัวเครื่องมีความยาวมากขึ้น น้ำหนักเทียบได้กับหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน (ตาม spec คือ 240 g) วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องดูแน่นหนาสมกับที่ใช้ graphite เป็นกรอบ
ทางด้านล่างของตัวเครื่อง จากซ้ายไปขวา:
|
ด้านล่างของหน้าจอเป็นคีย์บอร์ด QWERTY |
ด้านหลังของเครื่องจะเป็นที่อยู่ของลำโพง |
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ BeBook mini 5 จะเห็นว่ามีขนาดแตกต่างกันอยู่พอสมควร เนื่องจากหน้าจอขนาด 6 นิ้ว (BeBook mini ขนาดหน้าจอ 5 นิ้ว) และคีย์บอร์ด QWERTY
ในแง่ของน้ำหนัก หลังจากที่ได้ทำความคุ้นเคยกับ BeBook mini 5 (160 g) มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง พอมาถือ Kindle 3rd gen ตัวนี้ (240 g) ก็รู้สึกได้ถึงความหนักกว่าอย่างชัดเจน แต่ถ้าเทียบแล้วก็พอ ๆ กับพ็อคเก็ตบุ๊คขนาดมาตรฐาน ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการถือไปไหนมาไหน
2. หน้าจอ
เป็นสิ่งที่ต้องยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันดับต้น ๆ เลย สำหรับ Kindle 3rd gen ด้วยเหตุผลที่ทาง Amazon โฆษณานักหนาว่า หน้าจอ eInk รุ่นใหม่นี้ มันมี contrast ดีกว่าเดิมถึง 50% มันจะขนาดไหนกันเชียว
แล้วเมื่อเปิดเครื่องขึ้นมา ก็พบกับความคมชัดน่าประทับใจสมคำล่ำลือจริง ๆ เสียด้วย จะชัดขนาดไหน เรียกได้ว่า จอของ BeBook ที่ว่าคมชัดดีแล้ว กลายเป็นมัวหมองไปเลยทีเดียว สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ขอเอารูปเปรียบเทียบมาให้ดูเลยก็แล้วกัน
3. การใช้งาน
หน้าจอเวลาที่คีย์บอร์ดถูกล็อคอยู่ จะแสดงรูปของนักเขียนคลาสสิก สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในการล็อคหน้าจอแต่ละครั้ง การปลดล็อคคีย์บอร์ดทำได้โดยการเลื่อนปุ่ม keyboard lock/unlock ทางด้านล่างของเครื่อง
การ navigate ตัวเลือก เมนูต่าง ๆ และการพลิกหน้าหนังสือ สามารถทำได้โดยปุ่ม 5-way navigation button และปุ่มที่อยู่ด้านข้างของเครื่อง การตอบสนองบนหน้าจอยังมีหน่วงอยู่บ้างตามประสา e-Ink
การค้นหาข้อความ หรือการเปิดดิกชันนารี ทำได้สะดวกมากจาก QWERTY keyboard แต่ยังติดอยู่ที่การพิมพ์ภาษาไทย ที่ยังไม่รองรับครับ
สำหรับภาษาไทย สามารถอ่านภาษาไทยในไฟล์ PDF ได้ราบรื่นดี แต่สำหรับ format อื่น จะต้องทำการ hack เพื่อลงฟอนต์ภาษาไทยเพื่อให้สามารถอ่านไทยได้
ประสบการณ์ในการอ่านตามปกติแบบที่เนื้อหาเป็นข้อความอย่างเดียวนั้น จะไม่รู้สึกแตกต่างกับ BeBook มากนัก แต่จุดที่แตกต่างออกไปสำหรับ Kindle ตัวนี้ก็คือ การอ่านไฟล์ pdf ในโหมดขยาย (zoom) นั้น จะยังคง page layout ของเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วน การ scroll เพื่ออ่านข้อความจึงต้องทำทั้งในแนวราบ (ซ้ายขวา) และแนวตั้ง ซึ่งแตกต่างจาก Adobe PDF ใน BeBook ซึ่งจะทำการ reflow ข้อความให้ ทำให้เสีย page layout ไป การคง page layout เอาไว้นี้ มีข้อดีก็คือ สามารถอ่านแผนภูมิ รูปภาพขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่งง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเลื่อนหน้าจอในแนวราบ ดีหรือไม่ดี จึงขึ้นอยู่กับแนวทางการใช้งานของแต่ละคนครับ
PDF page layout แบบเต็มหน้าจอ |
PDF zoom 150% |
4. Web browser
แม้ว่าจะยังเป็น experimental feature แต่จากการทดลองใช้งานก็พบว่า สามารถแสดงผลเวบต่าง ๆ ได้ราบรื่นดี เข้าใช้ GMail ได้อย่างไม่มีปัญหา (เครื่องที่ทดสอบได้ทำการลงฟอนต์ไทยเรียบร้อยแล้ว) จะอึดอัดอยู่บ้างก็ตรงที่มันไม่ใช่ touch screen เผลอเอานิ้วจิ้มที่หน้าจออยู่หลายครั้งระหว่างเล่นเนต
และสิ่งที่ดูจะคุ้มค่ามากก็คือ การใช้เครือข่าย EDGE/3G แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทำให้ความฝันของใครหลายคนเป็นจริงชนิดที่เมินสารพัด tablet ไปได้เลยทีเดียว
ทดลองเปิดเวบ bbc.co.uk |
GMail ผ่านเวบ |
นอกจากนี้ QWERTY keyboard ถือเป็นส่วนเติมเต็มของความสามารถ web browsing นี้เลยทีเดียว เพราะทำให้การพิมพ์ URL, login, password สะดวกมาก
5. ความสามารถ/ข้อจำกัดอื่น ๆ
ความสามารถที่น่าสนใจ ที่ยังผมไม่ได้ลองก็คือ Text-to-speech และการเล่นไฟล์เสียง แต่เท่าที่ถามเจ้าของเครื่อง สามารถทำได้เป็นที่น่าพอใจทั้งการเล่นผ่านลำโพง และหูฟัง
ส่วนข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนยังขัดใจก็คือ ชนิดของไฟล์ ที่สนับสนุนนั้นมีไม่มาก และขาดฟอร์แมตที่สำคัญอย่าง epub ไป ทำให้ต้องอาศัยเครื่องมือเข้ามาช่วยแปลงไฟล์อีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นปัญหาเชิงเทคนิคสำหรับผู้ใช้จำนวนหนึ่งได้ (ณ จุดนี้ ฟรีแวร์ Calibre ช่วยได้มาก แถมยัง cross platform อีกด้วย)
สรุป
Amazon ได้สร้างมาตรฐานของ eReader ยุคต่อไป ทั้งทางด้านคุณภาพหน้าจอที่ดีขึ้น ความสามารถที่เริ่มขยายออกไปนอกเหนือจากการอ่าน การเพิ่มความสามารถทางด้าน wireless connectivity แบบไม่จำกัด และที่สำคัญที่สุดคือ ราคา ที่ไม่ได้สูงจนเกินเอื้อมอีกต่อไป การขยับของ Amazon คราวนี้คงจะทำให้ผู้ผลิต eReader รายใหญ่เจ้าอื่น ๆ ต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในส่วนของรายเล็ก อาจจะถึงขนาดถอดใจกันเลยก็เป็นได้
หมายเหตุ:
- ภาพประกอบถ่ายโดย Samsung Galaxy Spica ดูภาพเพิ่มเติมได้จาก web album
- ขอขอบคุณ มิ้ว เจ้าของเครื่อง ที่เอื้อเฟื้อเครื่อง Kindle ครับ
1 comment:
very interesting, thanks :)
Post a Comment