ก่อนศตวรรษที่ 18 ผู้คนรู้จักอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์หรือชีส ที่มีแผ่นขนมปังอยู่ประกบ 2 ข้างว่า "ขนมปัง และเนื้อ" (bread and meat) (หรือ ขนมปัง และชีส) ง่าย ๆ แค่นั้น แต่ก็เป็นอาหารของผู้คนหลายเชื้อชาติมาตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล และก็ไม่มีใครสักคนรู้จักมันในชื่อของ แซนด์วิช เลย
อันที่จริงแล้ว แซนด์วิช (Sandwich) เป็นชื่อเมือง ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
ในศตวรรษที่ 18 John Montagu ที่ชื่นชอบการเล่นไพ่ มักสั่งคนรับใช้ของเขาให้เอา ขนมปังประกบกับเนื้อ เพื่อป้องกันมือไม่ให้เปื้อนน้ำมันจากชิ้นเนื้อ เมื่อหยิบขึ้นมากิน ทำให้สามารถเล่นไพ่ต่อได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทำให้ไพ่เปื้อน
John Montagu ท่านนี้ จริง ๆ แล้ว ดำรงตำแหน่งขุนนางของอังกฤษ เป็น ท่านเอิร์ลลำดับที่ 4 แห่งแซนด์วิช (4th Earl of Sandwich) เมื่อคนในวงไพ่เห็นว่า วิธีการรับประทานขนมปังประกบเนื้อ แบบที่ John Montagu สั่ง เป็นวิธีที่เข้าท่าดี และได้รับความนิยมในวงไพ่มากขึ้นเป็นลำดับ เหล่าสมาชิกในวงไพ่จึงสั่งคนรับใช้บ้างว่า "เอาแบบ แชนด์วิช!" (Same as Sandwich!) เป็นจุดกำเนิดทำให้ผู้คนรู้จักอาหารชนิดนี้อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมาว่า แซนด์วิช
ปัจจุบันตำแหน่ง Earl of Sandwich สืบเชื้อสายต่อเนื่องมาจนถึงลำดับที่ 11 ในขณะที่คำว่า แซนด์วิช ถูกนำไปใช้เป็นคำกิริยาของ "การประกบ"ของเอาไว้ตรงกลาง ที่กว้างขวางออกไปกว่าเดิม
แม้ John Montagu จะไม่ใช่พ่อครัวผู้คิดค้นแซนด์วิช แต่เขาเป็นผู้ออกแบบประสบการณ์ที่ทำให้คนทั้งโลก ยอมรับอาหารชนิดนี้ และเรียกมันว่า แซนด์วิช
Monday, December 17, 2012
Wednesday, November 07, 2012
The Cobra Effect: ปรากฏการณ์งูเห่า
ในโลกที่ทุกอย่าง perfect ถ้าต้องการให้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางใดทางนึงแล้วล่ะก็ ให้หาสิ่งจูงใจมาแลกเปลี่ยน ใครเข้าร่วม ก็ได้รางวัลไป แค่นี้ก็เกิดเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ แต่ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งไม่คาดฝัน การสร้างสิ่งจูงใจ อาจนำไปสู่ผลเลวร้าย ที่รู้จักกันในชื่อ ปรากฏการณ์งูเห่า (The Cobra Effect) :-
ในสมัยที่อังกฤษยึดอินเดียเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดงูเห่าให้หมดไป จึงให้ค่าหัว(งู)แก่ชาวบ้าน ที่นำซากงูมาแสดง ชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอันมาก จนกระทั่ง เกิดธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์งู เพื่อขายซากงูให้ทางการอังกฤษซะเลย
ในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดเวียดนามเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดหนูให้หมดไปจากพื้นที่รอบชุมชนฝรั่งเศสในฮานอย จึงประกาศให้รางวัลแก่ชาวบ้าน ที่นำหางหนูมาแสดง ปรากฏมีชาวบ้านนำหางหนูมาขึ้นรางวัลเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางการฝรั่งเศสค้นพบในเวลาต่อมาว่า ชาวบ้านรอบชุมชนฝรั่งเศสแห่งนี้ทำอาชีพเพาะหนูตัดหางขายให้ทางการฝรั่งเศสอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
นักโบราณคดีในศตวรรษที่ 19 ประกาศให้รางวัลตอบแทนซากกระดูกโบราณ ที่คนงานเหมืองในประเทศจีนขุดพบในแต่ละชิ้น ดังนั้น เมื่อกระดูกถูกขุดพบ มันจะถูกทุบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อจะได้นำไปแลกรางวัลได้หลาย ๆ ชิ้น
เจ้าของที่ดินในเขตที่มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตัดสินใจตัดต้นไม้ และทำลายแหล่งที่อยู่ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์นั้นจนหมด ก่อนที่ที่ดินของตัวเองจะถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า หมดหนทางทำประโยชน์จากที่ดินนั้นอีกต่อไป
รัฐบาลเม็กซิโกซิตี้ แก้ปัญหารถติดด้วยการจำกัดรถที่วิ่งได้ในวันคู่ และวันคี่ ตามป้ายทะเบียน คนในเม็กซิโกซิตี้ ก็เลยซื้อรถเพิ่มอีกคัน เพื่อจะได้ใช้รถทั้งวันคู่ และวันคี่ ส่วนรถที่ขายดีคือ รถรุ่นเก่าที่ประสิทธิภาพในการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่ำ ผลสุดท้ายสร้างปัญหารถติด และมลภาวะมากกว่าเดิม (!!)
หน่วยดับเพลิงได้รับเงินสนับสนุนตามจำนวนเหตุเพลิงไหม้ที่ออกปฏิบัติการ งานด้านการป้องกันเพลิงไหม้จึงไปไม่ถึงไหน เพราะถ้าไม่มีเพลิงไหม้ ก็ไม่ได้เงินน่ะสิ
เรื่องเหล่านี้สอนให้รู้ว่า การเสนอแรงจูงใจ อาจไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการเสมอไป บางครั้งอาจทำให้เกิดผลตรงกันข้ามกับที่ต้องการก็เป็นได้
ใครมีตัวอย่างของ Cobra Effect ในชีวิตประจำวัน ลองมา share กันนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม:
ในสมัยที่อังกฤษยึดอินเดียเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดงูเห่าให้หมดไป จึงให้ค่าหัว(งู)แก่ชาวบ้าน ที่นำซากงูมาแสดง ชาวบ้านให้ความสนใจเป็นอันมาก จนกระทั่ง เกิดธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์งู เพื่อขายซากงูให้ทางการอังกฤษซะเลย
ในสมัยที่ฝรั่งเศสยึดเวียดนามเป็นอาณานิคม ต้องการกำจัดหนูให้หมดไปจากพื้นที่รอบชุมชนฝรั่งเศสในฮานอย จึงประกาศให้รางวัลแก่ชาวบ้าน ที่นำหางหนูมาแสดง ปรากฏมีชาวบ้านนำหางหนูมาขึ้นรางวัลเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางการฝรั่งเศสค้นพบในเวลาต่อมาว่า ชาวบ้านรอบชุมชนฝรั่งเศสแห่งนี้ทำอาชีพเพาะหนูตัดหางขายให้ทางการฝรั่งเศสอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
นักโบราณคดีในศตวรรษที่ 19 ประกาศให้รางวัลตอบแทนซากกระดูกโบราณ ที่คนงานเหมืองในประเทศจีนขุดพบในแต่ละชิ้น ดังนั้น เมื่อกระดูกถูกขุดพบ มันจะถูกทุบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อจะได้นำไปแลกรางวัลได้หลาย ๆ ชิ้น
เจ้าของที่ดินในเขตที่มีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตัดสินใจตัดต้นไม้ และทำลายแหล่งที่อยู่ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์นั้นจนหมด ก่อนที่ที่ดินของตัวเองจะถูกประกาศเป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า หมดหนทางทำประโยชน์จากที่ดินนั้นอีกต่อไป
รัฐบาลเม็กซิโกซิตี้ แก้ปัญหารถติดด้วยการจำกัดรถที่วิ่งได้ในวันคู่ และวันคี่ ตามป้ายทะเบียน คนในเม็กซิโกซิตี้ ก็เลยซื้อรถเพิ่มอีกคัน เพื่อจะได้ใช้รถทั้งวันคู่ และวันคี่ ส่วนรถที่ขายดีคือ รถรุ่นเก่าที่ประสิทธิภาพในการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่ำ ผลสุดท้ายสร้างปัญหารถติด และมลภาวะมากกว่าเดิม (!!)
หน่วยดับเพลิงได้รับเงินสนับสนุนตามจำนวนเหตุเพลิงไหม้ที่ออกปฏิบัติการ งานด้านการป้องกันเพลิงไหม้จึงไปไม่ถึงไหน เพราะถ้าไม่มีเพลิงไหม้ ก็ไม่ได้เงินน่ะสิ
เรื่องเหล่านี้สอนให้รู้ว่า การเสนอแรงจูงใจ อาจไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการเสมอไป บางครั้งอาจทำให้เกิดผลตรงกันข้ามกับที่ต้องการก็เป็นได้
ใครมีตัวอย่างของ Cobra Effect ในชีวิตประจำวัน ลองมา share กันนะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม:
Monday, September 24, 2012
The Greatest Show on Earth โดย Richard Dawkins
- ลิงชิมแพนซี ไม่ใช่บรรพบุรุษของมนุษย์ แต่มนุษย์และลิงชิมแพนซีมีบรรพบุรุษร่วมกันต่างหาก
- เต่าบกกับเต่าทะเล อะไรเกิดก่อนกัน? - เต่าบกเกิดก่อน แล้วส่วนนึงกลับลงไปในทะเล นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเต่าทะเลยังขึ้นมาวางไข่บนบก เพราะบนบกเคยเป็นบ้านของมัน
- วิวัฒนาการของกระดองเต่า เกิดตั้งแต่บนบกหรือในทะเล? - กระดองส่วนล่างวิวัฒนาการในทะเล ส่วนกระดองส่วนบนวิวัฒนาการบนบก เพราะในทะเล ผู้ล่ามักมาจากข้างล่าง ส่วนบนบก ผู้ล่ามักมาจากข้างบน
- หางของวาฬ และโลมา ไม่เหมือนหางของปลาอื่น ๆ - เพราะว่า ปลาทั่วไปอยู่ในน้ำมาตลอด วิวัฒนาการได้หางแนวตั้ง เพื่อเคลื่อนที่โดยขยับกระดูกสันหลังในแนวขวาง ซึ่งวิวัฒนาการต่อมาเป็นการเคลื่อนไหวของงูเลื้อย และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ
ส่วนบรรพบุรุษของวาฬและโลมา เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่บนบก ซึ่งมีการเคลื่อนที่โดยการขยับกระดูกสันหลังในแนวบน-ล่าง วาฬและโลมา จึงวิวัฒนาการได้หางแนวนอน
และอื่น ๆ อีกมากมาย
Thursday, April 12, 2012
Post ภาพจาก Instagram บน Google+
เนื่องจาก Google+ ยังไม่เปิด API ให้ app อื่น post เข้าไปได้โดยตรง ก็เลยเห็นว่า ไม่มี Google+ อยู่ในทางเลือกในการ share ภาพจากใน Instagram
ถ้าเราอยาก post ภาพที่ผ่าน filter ของ Instagram บน Google+ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดย (บน Android OS)
ถ้าเราอยาก post ภาพที่ผ่าน filter ของ Instagram บน Google+ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดย (บน Android OS)
- เปิดภาพขึ้นมาใส่ filter ใน Instagram ตามปกติ
- กดเครื่องหมาย >> ที่อยู่มุมบนขวาของจอ ภาพจะถูก save ไปที่ folder /sdcard/Pictures/Instagram โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเราจะเลือก upload ในหน้าจอถัดไปหรือไม่ก็ตาม
- เปิด app Gallery หรือ file manager เข้าไปที่ folder Instagram ในข้อ 2. แล้ว share เข้า Google+
Friday, March 02, 2012
ศาสตร์ของการลืม #2 :ความทรงจำเปราะบางกว่าที่เราคิด
ภาพจาก flickr โดย droetker0912 |
ในปัจจุบัน มีการเสนอทฤษฎีว่า ความทรงจำระยะยาวของคนเรา อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ภาค คือ เหตุการณ์ (เสียง ภาพต่าง ๆ) กับ อารมณ์ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น โดยเหตุการณ์ที่จำได้จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกตามมา ต่อเนื่องกันในลักษณะของห่วงโซ่ (chain of memories) ซึ่งตัวอย่าง ปัญหาความทรงจำระยะยาวที่ย้อนกลับมาทำร้ายเจ้าของ คือ ภาวะเครียดหลังประสบเหตุการณ์เลวร้าย (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD)
ความเชื่อเรื่องความแม่นยำของความทรงจำ เริ่มถูกท้าทาย ในช่วงทศวรรษ 1980s ว่า ที่จริงแล้วความทรงจำของคนเรานั้นถูกเก็บอย่างเปราะบางมากกว่าที่คิด เมื่อมีการค้นพบโปรตีนที่มีชื่อว่า PKMZeta ที่จุดเชื่อมต่อ (synapses) ของเซลล์ประสาทในสมอง ทำให้เซลล์ประสาทสามารถเชื่อมต่อกันได้เป็นเวลานาน ๆ ซึ่งกลไกการเชื่อมต่อนี้ จำเป็นต้องได้รับการย้ำ (reconsolidation) เป็นประจำ ทุกครั้งที่เรานึกถึง ความทรงจำนั้น จะถูกปรุงขึ้นใหม่ และเขียนทับลงไปใหม่ แต่ด้วยส่วนผสมที่อาจต่างไปจากเดิม หรือมิฉะนั้นความทรงจำนั้นก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป
เมื่อไปทดลองในหนู ที่ถูกสร้างเงื่อนไขให้กลัวการถูกไฟฟ้าช็อตหลังได้ยินเสียงที่กำหนด พบว่า การโจมตีการสร้าง PKMZeta ในขณะที่หนูได้ยินเสียง (ที่จะตามมาด้ายการถูกช็อต) ทำให้หนูเลิกแสดงอาการกลัวในเงื่อนไขเดิม (ยับยั้งกลไก reconsolidation , ทำลายห่วงโซ่ของความจำ) ในขณะที่เงื่อนไขอื่น และความทรงจำอื่นยังอยู่ครบถ้วนเหมือนเดิม
ด้วยแนวคิดนี้จึงได้มีการ นำมาประยุกต์ใช้ลดผลกระทบด้านอารมณ์จากความทรงจำที่เลวร้ายในคนไข้ PTSD ด้วยการ'เขียนซ้ำ'ความทรงจำด้านอารมณ์ใหม่ โดยการให้คนไข้รื้อฟื้นความทรงจำอันเลวร้ายนั้น ในขณะที่ได้รับยาที่ส่งผลต่ออารมณ์ อย่าง propranolol (ลดความดันโลหิต ลดการเต้นของหัวใจ ลดความตื่นเต้น) หรือกระทั่งการใช้ยา ecstasy หรือที่รู้จักในชื่อ ยาอี (!!) ซึ่งทำให้ การรื้อฟื้นความทรงจำในครั้งต่อ ๆ มา แม้ว่าคนไข้จะยังจำเหตุการณ์ได้ แต่ก็ส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์ลดลงกว่าเดิม หรือเทคนิค การทิ้งช่วงหลังเกิดเหตุการณ์ระยะหนึ่ง ซึ่งผลกระทบทางด้านอารมณ์ของผู้ประสบเหตุการณ์นั้นลดลงแล้ว จึงให้ผู้ประสบเหตุระบายอย่างละเอียดออกมา (critical incident stress debriefing: CISD) ทำให้เกิดการ'เขียนทับ'ความทรงจำใหม่ที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกลดลง
เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า ความทรงจำที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง ที่จริงแล้วถูกเก็บไว้อย่างเปราะบาง และแม้ว่ายาเม็ดที่กินแล้ว ทำให้ลืมเรื่องเลวร้ายได้ คงยังไม่มาถึงในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่เราก็ได้รู้ว่ามีสิ่งที่เป็นไปได้ในประโยคที่ ฮัน โซโล พูดถึงการจากไปของ ชิวแบ็กก้า:
"เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนวิธีจดจำมันได้"(ดัดแปลงจากประโยคต้นฉบับ: "How do you change the past?" "Simple. By changing the way you remember it.")
ที่มา:
- WIRED: The Forgetting Pill Erases Painful Memories Forever
- Star Wars New Jedi Order: Hero's Trial
- สุดท้าย ขออนุญาตแนะนำหนังสือ The Invisible Gorilla ที่เล่าเรื่องความหลงผิดด้านความทรงจำ Illusion of Memory และด้านอื่น ๆ สำหรับผู้สนใจความหลงผิดของคนเราในชีวิตประจำวันครับ
Wednesday, February 22, 2012
ศาสตร์ของการตกหลุมรัก
ศาสตร์ของการตกหลุมรัก
- ระยะแรกพบ: ตาดู ใบหน้า และรูปร่าง (ความสมบูรณ์ของ gene และอาหาร), หูฟังเสียงพูด (ฮอร์โมนเพศ), จมูกดมกลิ่น (ที่มีทั้ง 'ได้กลิ่น' และ'ไม่ได้กลิ่น')
- ระยะต่อมา: การใกล้ชิด สัมผัส ส่งผลต่อสารเคมีในสมอง: dopamine - reward system, oxytocin - ความอบอุ่น ไว้ใจ, cortisol - ความเครียด, serotonin - หมกมุ่น
ศาสตร์ของการอกหัก
- เกิดจาก การไม่ได้รับการตอบสนอง (dopamine), ความเจ็บปวดจากการถูกปฏิเสธ (ที่ใช้สมองตำแหน่งเดียวกับการรับรู้ความเจ็บปวดทางกาย) และความเครียดจากการหมกมุ่น
สรุปว่า ความรู้สึกพิเศษหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้น จากการตกหลุมรัก คือ ปฏิกิริยาของสารเคมีในสมองที่เกิดขึ้นกับคนทั่วโลก มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาของโลกต่างหาก
ที่มา:
Scientific American
Wednesday, January 25, 2012
Earworm: เสียงเพลงที่วนเวียนอยู่ในหัว
เช้าวันหนึ่ง ระหว่างที่คุณกำลังนั่งกินอาหารเช้า คุณได้ยินเสียงเพลงที่กำลังฮิตจากวิทยุ เพราะดี.. คุณเริ่มฮัมเพลงนี้ในใจ
คุณ ขับรถออกมาทำงาน ระหว่างที่ติดไฟแดง คุณพบว่า ท่อนฮุกของเพลงสุดฮิต ยังคงถูกเล่นในหัว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. มันคงจะฮิตจริง ๆ.. ระหว่างกินข้าวกลางวันคุณพบว่า.. คุณหยุดคิดถึงเพลงนี้ไม่ได้ (!!) คุณใช้เวลาตลอดบ่ายเอาหัวโขกข้างฝา และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ฟังเพลงนั้นอีกตลอดชีวิต
จากการวิจัย พบว่า 98% ของคนทั่วไปเคยมีประสบการณ์เสียงเพลงที่เล่นวนเวียนอยู่ในหัว ที่รู้จักกันในชื่อ earworm (แปลตรงตัวว่า หนอนรูหู) กันมาแล้วทั้งนั้น earworm นี้พบบ่อยในผู้หญิง และนักดนตรี และสร้างความรำคาญให้กับผู้หญิงมากกว่า แม้ว่าเราจะยังไม่รู้ชัดเจนว่า earworm มันมีประโยชน์กับเรายังไง แต่ก็มีทฤษฎี และการทดลองที่อธิบายปรากฏการณ์นี้จาก ความพยายามเติมเต็มช่องว่างของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟัง (auditory cortex) เช่นเดียวกับ เวลาที่เราสามารถนึกทำนองเพลงที่คุ้นหู ต่อเนื่องได้แม้ว่าเสียงเพลงจริงๆ จะหยุดไปแล้ว แต่ไม่ใช่ทุกเพลงที่จะกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ earworm ได้เสมอไป คุณสมบัติของเพลงที่มีแนวโน้มจะเป็น earworm คือ
มีความพยายามมากมายในการหาวิธีแก้ earworm ที่ได้ผลชะงัด วิธีที่ง่ายและใช้กันบ่อยได้แก่
อย่าง ที่พิมพ์ไปตอนต้นว่า แม้เราจะไม่รู้ว่า earworm มีประโยชน์กับเรายังไง แต่ก็มีการนำความรู้เกี่ยวกับ earworm ไปใช้ในการผลิตสื่อ และโฆษณา เพื่อสร้างเพลงโฆษณาที่ติดหู และเพลงฮิตติดชาร์ต รวมทั้งกลยุทธการโปรโมทที่ทำให้สมองเรา 'ตกหล่ม' ที่เราเจอในชีวิตประจำวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับคนที่สงสัยว่า ใครเป็นคนบัญญัติคำว่า earworm ช่างตรงใจอะไรเช่นนี้ ที่จริงแล้ว คำว่า earworm มาจากคำว่า "Ohrwurm" ในภาษาเยอรมัน มีความหมายว่า ความ'คัน'ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสิ่งมีชีวิตในนิทานปรัมปราเล่มไหนทั้งสิ้น
via
คุณ ขับรถออกมาทำงาน ระหว่างที่ติดไฟแดง คุณพบว่า ท่อนฮุกของเพลงสุดฮิต ยังคงถูกเล่นในหัว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. มันคงจะฮิตจริง ๆ.. ระหว่างกินข้าวกลางวันคุณพบว่า.. คุณหยุดคิดถึงเพลงนี้ไม่ได้ (!!) คุณใช้เวลาตลอดบ่ายเอาหัวโขกข้างฝา และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ฟังเพลงนั้นอีกตลอดชีวิต
จากการวิจัย พบว่า 98% ของคนทั่วไปเคยมีประสบการณ์เสียงเพลงที่เล่นวนเวียนอยู่ในหัว ที่รู้จักกันในชื่อ earworm (แปลตรงตัวว่า หนอนรูหู) กันมาแล้วทั้งนั้น earworm นี้พบบ่อยในผู้หญิง และนักดนตรี และสร้างความรำคาญให้กับผู้หญิงมากกว่า แม้ว่าเราจะยังไม่รู้ชัดเจนว่า earworm มันมีประโยชน์กับเรายังไง แต่ก็มีทฤษฎี และการทดลองที่อธิบายปรากฏการณ์นี้จาก ความพยายามเติมเต็มช่องว่างของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟัง (auditory cortex) เช่นเดียวกับ เวลาที่เราสามารถนึกทำนองเพลงที่คุ้นหู ต่อเนื่องได้แม้ว่าเสียงเพลงจริงๆ จะหยุดไปแล้ว แต่ไม่ใช่ทุกเพลงที่จะกระตุ้นให้เกิดปรากฏการณ์ earworm ได้เสมอไป คุณสมบัติของเพลงที่มีแนวโน้มจะเป็น earworm คือ
- จำง่ายมาก และง่ายต่อการร้องตาม
- เป็นทำนองซ้ำๆ (repetitive) เป็นที่สังเกตว่า earworm มักเป็นท่อนฮุกที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา เราก็มักจะจำได้แค่ท่อนฮุกนั่นแหละ และสมองจะพยายามหาทางออกจากท่อนฮุกนั้นให้ได้ แต่'ติดหล่ม'หาทางออกจากท่อนฮุกที่ว่า ไม่เจอ (!) (อ่านวิธีแก้ในย่อหน้าถัดไป)
- มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะ หรือทำนอง ที่กระตุกชวนให้สมองติดตาม เติมเต็มช่องว่าง และ 'ติดหล่ม' ในที่สุด
มีความพยายามมากมายในการหาวิธีแก้ earworm ที่ได้ผลชะงัด วิธีที่ง่ายและใช้กันบ่อยได้แก่
- ฟังเพลง และร้องเพลงนั้นให้จบทั้งเพลง เพื่อเป็นการปลดล็อกสมองจากสภาวะติดหล่มท่อนฮุก
- เอาไปติดคนอื่น - earworm สามารถติดต่อได้ คงไม่ต้องบอกว่า ทำยังไงให้คนข้างๆ ฮัมเพลงเดียวกับคุณ แน่นอนว่า earworm อาจจะไม่หายไป แต่คุณจะรู้สึกดีขึ้น (หรือแอบสะใจ) ที่ได้แบ่งมันให้กับคนอื่น
- ร้องเพลงอื่นแทน (eraser tune) ถ้าคุณกำจัด earworm ได้สำเร็จด้วยวิธีนี้ ยินดีด้วย คุณได้ยัดหนอนตัวใหม่เข้าไปในหูแทนเป็นที่เรียบร้อย
อย่าง ที่พิมพ์ไปตอนต้นว่า แม้เราจะไม่รู้ว่า earworm มีประโยชน์กับเรายังไง แต่ก็มีการนำความรู้เกี่ยวกับ earworm ไปใช้ในการผลิตสื่อ และโฆษณา เพื่อสร้างเพลงโฆษณาที่ติดหู และเพลงฮิตติดชาร์ต รวมทั้งกลยุทธการโปรโมทที่ทำให้สมองเรา 'ตกหล่ม' ที่เราเจอในชีวิตประจำวันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับคนที่สงสัยว่า ใครเป็นคนบัญญัติคำว่า earworm ช่างตรงใจอะไรเช่นนี้ ที่จริงแล้ว คำว่า earworm มาจากคำว่า "Ohrwurm" ในภาษาเยอรมัน มีความหมายว่า ความ'คัน'ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสิ่งมีชีวิตในนิทานปรัมปราเล่มไหนทั้งสิ้น
via
- Scientific American
- Wikipedia
- The Guardian
- The Definitive Guide to Earworms พร้อมสารพัดวิธีแก้
- The World of Involuntary Musical Imagery Research รวบรวมงานวิจัยจริงจังเกี่ยวกับ earworm
Monday, January 23, 2012
เมื่อการลดขนาดของก้อนมะเร็ง อาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป
- ยารักษามะเร็งบางตัว มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นเลือด (anti-angiogenesis) ที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง โดยมีเป้าหมายทำให้ก้อนมะเร็งขาดเลือด และขนาดเล็กลง
- บางครั้ง การขาดเลือด อาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเกิดพฤติกรรม'เอาชีวิตรอด' โดยการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (metastasis) มากขึ้น ลงท้ายด้วยก้อนมะเร็งที่เล็กลง แต่อาการคนไข้แย่ลง (จากการทดลองในหนู) ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็ง
- เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การใช้ยารักษามะเร็งชนิดที่ไม่ตรงกับชนิดของเซลล์ที่มีผลการศึกษาวิจัยรองรับ (off-label use) อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้
Saturday, January 14, 2012
อีก 1 เหตุ ของความล้มเหลวในการลดน้ำหนัก
- 1 ในหน้าที่ของสมองส่วน hypothalamus คือควบคุมความรู้สึกหิว ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิต hypothalamus จึงเป็นตัวที่ช่วยบอกว่า น้ำหนักตัวที่เหมาะสม ควรเป็นเท่าไหร่
- จากการทดลอง หนู และอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน พบการเปลี่ยนแปลงของ hypothalamus ซึ่งคาดกันว่า ทำให้มีการกำหนด'น้ำหนักตัวที่เหมาะสม'มากเกินกว่าปกติ
- การที่น้ำหนักตัวที่เหมาะสมถูกสั่งโดยสมองนี้ อาจเป็นเหตุผลของ yoyo effect เพราะสมองจะสั่งให้ทำน้ำหนักกลับมาเท่าเดิมในที่สุด.. แม้ว่าเราจะยังควบคุมอาหารอยู่ก็ตาม (!!!)
- ตอนนี้ ยังบอกไม่ได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของ hypothalamus ที่ถูกพบนี้ สามารถกลับคืนเป็นปกติได้หรือไม่ แต่เราเริ่มจะรู้แล้วว่า การคุมอาหารเพียงอย่างเดียว เพื่อลดน้ำหนัก คงจะไม่พอเสียแล้ว
via HealthLand
Monday, January 09, 2012
30 มิถุนายน 2555 นี้ เราจะมีเวลาเพิ่มขึ้น 1 วินาที
- ปัจจุบันการอ้างอิงเวลามาตรฐาน ใช้นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) ที่ถือว่ามีความเที่ยงตรงมากที่สุด - International Atomic Time (TAI)
- วงโคจรที่โลกหมุนรอบตัวเอง และอิงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ (solar time) ไม่ได้สม่ำเสมอทุกรอบ จากแรงฉุดของดวงจันทร์ ทำให้บางวันสั้น บางวันยาว (นิดนึง)
- ถ้าปล่อยไว้ เวลาของ นาฬิกาอะตอม กับเวลาที่อิงตามวงโคจรของโลก จะห่างออกจากกันเรื่อย ๆ
- การใส่ 1 วินาที เข้าไป (leap second) ในเวลาอ้างอิงมาตรฐาน: Coordinated Universal Time (UTC) จะทำให้เวลาทั้งสองอันยังเดินไปด้วยกันได้เหมือนเดิม (มักใส่เข้าไปตอนกลางปี หรือสิ้นปี)
- ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการใส่เวลาเข้าออก UTC แบบนี้มาแล้ว จนปัจจุบัน UTC อยู่ห่างจาก TAI 34 วินาที และ 30 มิถุนายน 2555 นี้ จะมีการใส่เวลาเข้าไปอีก 1 วินาที
- 1 วินาที ดูเหมือนไม่สำคัญอะไร แต่สำหรับเทคโนโลยีที่ต้องการความแม่นยำในระดับ real time เช่น หอบังคับการบิน นักดาราศาสตร์ และ internet server มีความสำคัญมาก และน่าปวดหัว เพราะต้อง synchronize อุปกรณ์ทุกชิ้นให้ทำงานได้ตรงกัน
- ในวงการการสื่อสาร จึงเริ่มมีการเรียกร้องให้หยุดใส่เวลาเพิ่มเข้าไปใน UTC แบบนี้เสียที ซึ่งถ้าทำจริง 40 ปีข้างหน้า เวลาจะเหลื่อมมากขึ้นอีก 30 วินาที ในระยะยาวกว่านั้น เวลาเที่ยง (12.00) อาจเป็นตอนเช้ามืด
- ในระดับบุคคล สำหรับบางคน 1 วินาที อาจมีความสำคัญ ถ้ามีความต้องการสบตาใครบางคนนานขึ้นอีกนิดหนึ่ง
via: Wired, Scientific American
Subscribe to:
Posts (Atom)