- ปัจจุบันการอ้างอิงเวลามาตรฐาน ใช้นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) ที่ถือว่ามีความเที่ยงตรงมากที่สุด - International Atomic Time (TAI)
- วงโคจรที่โลกหมุนรอบตัวเอง และอิงกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ (solar time) ไม่ได้สม่ำเสมอทุกรอบ จากแรงฉุดของดวงจันทร์ ทำให้บางวันสั้น บางวันยาว (นิดนึง)
- ถ้าปล่อยไว้ เวลาของ นาฬิกาอะตอม กับเวลาที่อิงตามวงโคจรของโลก จะห่างออกจากกันเรื่อย ๆ
- การใส่ 1 วินาที เข้าไป (leap second) ในเวลาอ้างอิงมาตรฐาน: Coordinated Universal Time (UTC) จะทำให้เวลาทั้งสองอันยังเดินไปด้วยกันได้เหมือนเดิม (มักใส่เข้าไปตอนกลางปี หรือสิ้นปี)
- ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 มีการใส่เวลาเข้าออก UTC แบบนี้มาแล้ว จนปัจจุบัน UTC อยู่ห่างจาก TAI 34 วินาที และ 30 มิถุนายน 2555 นี้ จะมีการใส่เวลาเข้าไปอีก 1 วินาที
- 1 วินาที ดูเหมือนไม่สำคัญอะไร แต่สำหรับเทคโนโลยีที่ต้องการความแม่นยำในระดับ real time เช่น หอบังคับการบิน นักดาราศาสตร์ และ internet server มีความสำคัญมาก และน่าปวดหัว เพราะต้อง synchronize อุปกรณ์ทุกชิ้นให้ทำงานได้ตรงกัน
- ในวงการการสื่อสาร จึงเริ่มมีการเรียกร้องให้หยุดใส่เวลาเพิ่มเข้าไปใน UTC แบบนี้เสียที ซึ่งถ้าทำจริง 40 ปีข้างหน้า เวลาจะเหลื่อมมากขึ้นอีก 30 วินาที ในระยะยาวกว่านั้น เวลาเที่ยง (12.00) อาจเป็นตอนเช้ามืด
- ในระดับบุคคล สำหรับบางคน 1 วินาที อาจมีความสำคัญ ถ้ามีความต้องการสบตาใครบางคนนานขึ้นอีกนิดหนึ่ง
via: Wired, Scientific American
No comments:
Post a Comment