Sunday, November 27, 2005
Bluetooth และ T68i บน linux
วันนี้ได้ลองการเชื่อมต่อ bluetooth ครับ ใน linux TLE 7.0 มีความสามารถในการเชื่อมต่อ bluetooth แถมมาให้ซึ่งสามารถ enable ได้ที่ Services ครับ
หลังจาก enable แล้ว ก็เปิด discoverable ที่ โทรศัพท์ ใช้คำสั่ง
hcitool scan
จะได้ address ออกมาชุดหนึ่งครับ ให้จดไว้
เปลี่ยนค่า /etc/bluetooth/pin เป็นเลข 4 หลักที่ต้องการ แล้วก็ให้ T68i เป็นฝ่าย Discover PC เมื่อเจอแล้วก็ใส่เลข 4 หลักลงไปครับ เท่านี้ก็ pair ได้เรียบร้อย
พอดีไปเจอโปรแกรม ชื่อ K68 เป็น Utility สำหรับ SE T68i โดยเฉพาะ สามารถรับส่งไฟล์ได้สะดวกดีครับ
http://k68.sourceforge.net/
Friday, November 11, 2005
Synchronize Pocket PC กับ Linux โดยใช้ Multisync, Evolution, Synce
โปรแกรม Evolution ถือได้ว่าเป็นโปรแกรมจัดการข้อมูลส่วนตัว (PIM) ที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบบน Linux ครับ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ MS Outlook เลยทีเดียว
เมื่อสามารถ connect PocketPC กับ linux ได้แล้ว ขั้นต่อไปก็หาเครื่องมือ synchronize กันเลย
หลังจากที่ลองหาข้อมูลอยู่นานก็พบว่า การที่จะทำให้ PocketPC synchronize ข้อมูลกับ Evolution บน linux นั้น มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ version ของ Evolution จะใช้ plugin คนละตัวครับ กล่าวคือ Evolution 1 จะใช้ plugin ตัวเก่าที่แถมมาใน package ของ MultiSync อยู่แล้ว ในขณะที่ Evolution 2 ซึ่งผมใช้อยู่่ในปัจจุบันจำเป็นต้องลง plugin เพิ่มเติม
สำหรับ package ที่ผมใช้ลงมีดังนี้
อันนี้ download ได้จาก MultiSync sourceforge page
ไฟล์ของ evolution2 - multisync plugin ผมใช้จาก pacakage นี้ครับ
multisync-evolution-0.82-7.2.i586.rpm
พอลงเสร็จแล้วก็มีปัญหาว่าเห็น plugin อยู่ตัวเดียวคือ SynCE ส่วน Evolution นั้น install เรียบร้อยแล้วแต่ไม่เห็น
วิธีแก้ครับ
- ให้ locate ไฟล์ libevolution2_sync ว่าอยู่ใน directory ใด
- login as root
- ใช้คำสั่ง ln -s libevolution2_sync libevolution2_sync.so สร้าง link ที่มีสกุล .so
- restart MultiSync
Sunday, November 06, 2005
ปัญหาเรื่องไม่สามารถใช้ synce-KDE browse file ผ่าน rapip protocol
หลังจาก install synce-KDE เรียบร้อยแล้ว ผมก็เรียก applet raki ขึ้นมาใช้งานซึ่งสามารถใช้ command line ได้ปกติไม่มีปัญหา แต่ไม่สามารถใช้ konqueror browse file ผ่าน rapip protocol ได้ โดยแจ้ง error ว่า Error loading kio_rapip
ได้มีผู้ post วิธีแก้ไว้ที่นี่ครับ
http://sourceforge.net/forum/message.php?msg_id=3284554
copied file 'rapip.protocol' from /opt/kde3/share/services to ~/.kde/share/services, and changed first line of file to 'exec=/opt/kde3/lib/kde3/kio_rapip.la' (it just pointed to 'kio_rapip' originally). everything seems to be working smoothly now. hth somebody.
สั้น ๆ แต่ได้ผลชะงัดครับ
Thursday, November 03, 2005
Synchronize Pocket PC บน Linux
หลังจากที่หาข้อมูลอยู่บนอินเตอร์เนทซักพัก ก็ไปเจอโปรแกรมที่ชื่อว่า SynCE ครับ ซึ่งตัวโปรแกรมประกอบด้วย library และ utilities สำหรับ synchronize ไฟล์บน Pocket PC กับ linux ผ่านทาง command line ครับ
ขั้นตอนการติดตั้ง
เพื่อให้โปรแกรมสามารถ start serial connection ได้ตลอดเวลาที่เสียบ Pocket PC ลงไปบน cradle จึงใช้ script ของ hotplug เข้ามาช่วยครับ
หลังจากนั้นเราสามารถติดตั้ง applet เพิ่มเพื่อใช้งานในกราฟฟิคโหมดได้ด้วยครับ โดยใช้ plugin สำหรับ KDE และ GNOME ตัวใดตัวหนึ่ง
เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย งานต่อไปจะทดลองทำ synchronize กับโปรแกรม Evolution ซึ่งเป็น Organizer บน desktop ของ linux ครับ
Monday, October 31, 2005
Streaming media บน Linux
ใครที่ชื่นชอบการฟังเพลง หรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านทาง streaming media โดยเฉพาะที่ผ่านโปรแกรม Windows Media Player ที่ผมเคยกล่าวถึงไว้เมื่อคราวก่อน ที่นี่
เราคงจะคิดกันว่าไฟล์สกุล .wma, .wmv สามารถเล่นได้เฉพาะบน Windows Media Player เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วเราสามารถนำไฟล์เหล่านี้มาเล่นบน linux ได้ด้วย แถมยังสามารถฟังเป็นแบบ streaming ได้เช่นเดียวกับ Windows อีกด้วย โดยผ่านโปรแกรม multimedia ทรงประสิทธิภาพที่มีชื่อว่า xine ครับ ซึ่ง linux หลาย ๆ distribution ได้รวมเอาโปรแกรมนี้ไว้ในชุดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
หลังจากที่ได้โปรแกรม xine มาแล้ว ก็ต้องมีการลง option กันเล็กน้อยครับ เพราะตัวโปรแกรมเองยังไม่สามารถจะเล่นไฟล์ .wma, wmv ได้โดยตรง จึงต้องใช้ library เสริมครับ download ได้จาก web site ของโปรแกรม mplayer ซึ่งมีความสามารถคล้ายกัน ที่นี่ครับ
http://www.mplayerhq.hu/homepage/dload.html
เอาไฟล์ที่ได้ไปเก็บไว้ที่ /usr/lib/win32 หรือที่ที่เราต้องการ แล้วเข้าไปแก้ config file ที่ ~/.xine/config
บรรทัดที่เขียนว่า codec.win32 ลบเครื่องหมาย # ด้านหน้าออก แล้วแก้ไขชื่อเป็น directory ที่เรานำไฟล์ไปใส่ไว้ครับ พอเปิด xine ใหม่ก็จะสามารถเล่นไฟล์สกุล .wmv, .wma ได้แล้วครับ
การฟังสถานีวิทยุบนอินเตอร์เนทก็ทำได้โดยผ่าน command line ดังนี้
$ xine mms:// ....
สำหรับสถานีโปรดของผมเคยเล่าไว้ที่นี่ครับ
เราคงจะคิดกันว่าไฟล์สกุล .wma, .wmv สามารถเล่นได้เฉพาะบน Windows Media Player เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วเราสามารถนำไฟล์เหล่านี้มาเล่นบน linux ได้ด้วย แถมยังสามารถฟังเป็นแบบ streaming ได้เช่นเดียวกับ Windows อีกด้วย โดยผ่านโปรแกรม multimedia ทรงประสิทธิภาพที่มีชื่อว่า xine ครับ ซึ่ง linux หลาย ๆ distribution ได้รวมเอาโปรแกรมนี้ไว้ในชุดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
หลังจากที่ได้โปรแกรม xine มาแล้ว ก็ต้องมีการลง option กันเล็กน้อยครับ เพราะตัวโปรแกรมเองยังไม่สามารถจะเล่นไฟล์ .wma, wmv ได้โดยตรง จึงต้องใช้ library เสริมครับ download ได้จาก web site ของโปรแกรม mplayer ซึ่งมีความสามารถคล้ายกัน ที่นี่ครับ
http://www.mplayerhq.hu/homepage/dload.html
เอาไฟล์ที่ได้ไปเก็บไว้ที่ /usr/lib/win32 หรือที่ที่เราต้องการ แล้วเข้าไปแก้ config file ที่ ~/.xine/config
บรรทัดที่เขียนว่า codec.win32 ลบเครื่องหมาย # ด้านหน้าออก แล้วแก้ไขชื่อเป็น directory ที่เรานำไฟล์ไปใส่ไว้ครับ พอเปิด xine ใหม่ก็จะสามารถเล่นไฟล์สกุล .wmv, .wma ได้แล้วครับ
การฟังสถานีวิทยุบนอินเตอร์เนทก็ทำได้โดยผ่าน command line ดังนี้
$ xine mms:// ....
สำหรับสถานีโปรดของผมเคยเล่าไว้ที่นี่ครับ
Could not look up internet address for localhost
ข้อความข้างบนเป็นข้อความที่ขึ้นทุกทีหลังจากที่ผม login เข้า linux TLE ครับ แต่ก็สามารถเข้า internet ได้ตามปกติ แต่ก็ต้องกด Login Anyway ทุกครั้ง
ในที่สุดก็ได้วิธีแก้ครับ ด้วยการใส่
127.0.0.1 localhost
ลงไปในไฟล์ /etc/hosts
ถ้าชื่อเครื่องเป็นชื่ออื่นก็เปลี่ยน localhost เป็นชื่อเครื่องนั้น ๆ ครับ
ในที่สุดก็ได้วิธีแก้ครับ ด้วยการใส่
127.0.0.1 localhost
ลงไปในไฟล์ /etc/hosts
ถ้าชื่อเครื่องเป็นชื่ออื่นก็เปลี่ยน localhost เป็นชื่อเครื่องนั้น ๆ ครับ
Sunday, October 30, 2005
Stock ticker บน linux
หลังจากที่ connect internet ผ่าน linux ได้ก็ลองของเล่นใหม่ ๆ ดูครับ
มีโปรแกรมบน panel ของ GNOME เล็ก ๆอยู่ตัวหนึ่งชื่อว่า Stock ticker ครับ เอาไว้ดูราคาหุ้น ทดสอบกับหุ้นไทยโดยใช้รหัสแบบที่ Yahoo! คือบอกชื่อหุ้นแล้วตามด้วย .BK ก็จะได้ราคาหุ้นเอาไว้ดูบนหน้าจอแล้วครับ แต่ยังไม่ได้ทดสอบว่าข้อมูลที่ได้เป็น real time หรือไม่ เพราะลองเล่นตอนกลางคืนครับ ^_^ ถ้าอิงข้อมูลของ Yahoo! Finance แล้วคิดว่าน่าจะ delay ประมาณ 10-15 นาทีครับ
Wireless LAN บน Linux
ได้มีโอกาสทดลอง Linux TLE version 7.0 ครับ ตอนนี้มีการพัฒนาไเร็วมาก ๆ รูปลักษณ์สวยงามกว่า Windows ด้วยซ้ำไป การ Setup ก็ทำได้ง่าย
ปัญหาที่ผมกังวลหลังจาก Setup เสร็จคือ จะสามารถใช้งานเครือข่าย ที่ใช้ Wireless PCI LAN Card ได้หรือไม่ ก็พบว่า Wireless PCI LAN Card ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้โดยผ่าน PRISM54 module ที่อยู่ใน Linux kernel ได้ทันทีครับ ยกเว้น บางรุ่น อย่างอันที่ผมใช้ (SMC 2802w) จำเป็นต้องใช้โปรแกรม NDISWrapper มาช่วยในการ load driver แทน PRISM54 ครับ
ข้อมูล เกี่ยวกับ ndiswrapper
- Web site
- wiki
- รายชื่อ Card ที่ support
- ขั้นตอนการติดตั้งและปรับแต่ง
ปัญหาที่ผมกังวลหลังจาก Setup เสร็จคือ จะสามารถใช้งานเครือข่าย ที่ใช้ Wireless PCI LAN Card ได้หรือไม่ ก็พบว่า Wireless PCI LAN Card ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้โดยผ่าน PRISM54 module ที่อยู่ใน Linux kernel ได้ทันทีครับ ยกเว้น บางรุ่น อย่างอันที่ผมใช้ (SMC 2802w) จำเป็นต้องใช้โปรแกรม NDISWrapper มาช่วยในการ load driver แทน PRISM54 ครับ
ข้อมูล เกี่ยวกับ ndiswrapper
- Web site
- wiki
- รายชื่อ Card ที่ support
- ขั้นตอนการติดตั้งและปรับแต่ง
Saturday, October 29, 2005
หนังสือ Online
เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็เอามาทำเป็น Digital กันหมด ขนาด Google ยังมีโปรเจคใหญ่ scan หนังสือจากห้องสมุดตามมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามาเก็บเลย
ที่จริงแล้วโครงการการเก็บหนังสือในรูปของ Digital มีมานานพอสมควรแล้วนะครับ อย่างที่ Web Project Gutenberg ก็มีการนำหนังสือ Classics มากมายมาเก็บไว้ในแบบของ text files ถ้าใครไม่แพ้ภาษาลองเข้าไปเลือกชมดูนะครับ มีงานของ Herman Hesse, ซีรี่ย์ เชอร์ล็อกโฮล์ม และเอ็ดการ์ อัลลัน โป เยอะเชียวครับ
สำหรับของไทยตอนนี้ก็เริ่มมีการจดทำกันบ้างแล้วครับ ลองแบบไปเยี่ยมชมที่ Web วรรณกรรม ดูนะครับ แจกหนังสือคลาสสิกให้อ่านฟรีครับ
ที่จริงแล้วโครงการการเก็บหนังสือในรูปของ Digital มีมานานพอสมควรแล้วนะครับ อย่างที่ Web Project Gutenberg ก็มีการนำหนังสือ Classics มากมายมาเก็บไว้ในแบบของ text files ถ้าใครไม่แพ้ภาษาลองเข้าไปเลือกชมดูนะครับ มีงานของ Herman Hesse, ซีรี่ย์ เชอร์ล็อกโฮล์ม และเอ็ดการ์ อัลลัน โป เยอะเชียวครับ
สำหรับของไทยตอนนี้ก็เริ่มมีการจดทำกันบ้างแล้วครับ ลองแบบไปเยี่ยมชมที่ Web วรรณกรรม ดูนะครับ แจกหนังสือคลาสสิกให้อ่านฟรีครับ
Friday, October 28, 2005
Random MP3 ใส่ MP3 Player
เคยไหมครับ เวลาต้องเลือกเพลงใส่ลงใน MP3 player จากเพลงนับร้อย (หรือนับพัน) กว่าจะเต็มขนาด 256 MB หรือ 512 MB คงใช้เวลาน่าดู ยิ่งถ้าห้องสมุดเพลงของเรามีขนาดใหญ่มากขึ้นก็ยิ่งเสียเวลาเลือกมากขึ้น
ลองมาใช้ Windows Media Player ที่มีอยู่แล้วมาช่วยดูครับ เพราะนอกจากโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เล่้นไฟล์ multimedia ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นที่เก็บรวบรวมและจัดการไฟล์เหล่านี้ได้ด้วยครับ ดังนี้
ที่หน้าจอ Windows Media Player ที่ Tab Library ในหัวข้อของ AutoPlayList เลือก New... เลือกเป็น Randomized Playback Order กำหนด Total Limit Size เป็นขนาดที่คุณต้องการให้พอดีกับเครื่องเล่้น ที่คอลัมน์ทางด้านขวาของหน้าจอจะมี Drop down list ขึ้นว่า Now Playing List ให้เปลี่ยนเป็น Sync List
หลังจากเสียบ MP3 Player เข้ากับ USB port แล้วทางด้านล่างจะสามารถเลือก Removable Drive ที่เป็น MP3 Player ได้
ทีนี้ก็แค่ลาก Item ที่สร้างใหม่จากคอลัมน์ซ้ายมือสุด มาวางไว้ที่คอลัมน์ด้านขวา และกด Start Sync เท่านี้ โปรแกรมก็จะสุ่มเพลงที่กำหนดมาไว้ใน MP3 Player ได้แล้วครับ
ลองมาใช้ Windows Media Player ที่มีอยู่แล้วมาช่วยดูครับ เพราะนอกจากโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เล่้นไฟล์ multimedia ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นที่เก็บรวบรวมและจัดการไฟล์เหล่านี้ได้ด้วยครับ ดังนี้
ที่หน้าจอ Windows Media Player ที่ Tab Library ในหัวข้อของ AutoPlayList เลือก New... เลือกเป็น Randomized Playback Order กำหนด Total Limit Size เป็นขนาดที่คุณต้องการให้พอดีกับเครื่องเล่้น ที่คอลัมน์ทางด้านขวาของหน้าจอจะมี Drop down list ขึ้นว่า Now Playing List ให้เปลี่ยนเป็น Sync List
หลังจากเสียบ MP3 Player เข้ากับ USB port แล้วทางด้านล่างจะสามารถเลือก Removable Drive ที่เป็น MP3 Player ได้
ทีนี้ก็แค่ลาก Item ที่สร้างใหม่จากคอลัมน์ซ้ายมือสุด มาวางไว้ที่คอลัมน์ด้านขวา และกด Start Sync เท่านี้ โปรแกรมก็จะสุ่มเพลงที่กำหนดมาไว้ใน MP3 Player ได้แล้วครับ
Wednesday, October 26, 2005
สถานีเพลง online บน Pocket Windows Media Player
หลังจากที่เป็นแฟนประจำบน web site http://www.managerradio.com/ มาได้พักใหญ่ ผมก็ชักอยากได้ไปเปิดไว้ที่หัวนอนก่อนนอนบ้างก็เลยลองหาวิธีดูครับ อุปกรณ์ที่ผมมีอยู่ก็คือ PocketPC iPAQ 4150 และ Wireless ADSL Router ยี่ห้อ linksys 1 ตัว
เจ้าตัว Pocket Windows Media Player ที่อยู่ใน PocketPC นั้น จริง ๆ แล้วมันสามารถเล่น URL ที่ขึ้นต้นด้วย mms:// ได้ด้วยครับ หลังจากที่เรา connect Pocket PC กับ Router แล้วก็สามารถเปิด Streaming Audio เหล่านี้ได้ทันที
โดยการไปที่ menu Tools -> Open URL แล้วใส่ URL ที่ต้องการลงไป
ที่ web site ของ Manager Radio นั้น มาสถานีให้ฟังทั้งหมด 8 สถานีดังนี้ครับ
คลื่นสามัญประจำบ้าน: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio1
เพลงลูกกรุง: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio2
เพลงลูกทุ่ง: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio3
เพลงไทยยุค 80: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio4
Easy listening: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio5
Jazz in love: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio6
Golden oldies: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio7
World music: mms://broadcast.issp.co.th/managerradio8
ด้วยตัวของ Windows Media Player เองยังสามารถเก็บเป็น Favorites ไปเปิดฟังในภายหลังได้อีกนะครับ
ทีนี้เราก็สามารถพกพาคลื่นวิทยุที่ชอบไปฟังที่ไหน ๆ ในตัวบ้าน หรือที่ทำงานที่มี WiFi ได้แล้วครับ อย่าลืมพาที่ชาร์จไปด้วยนะครับ
Tuesday, October 25, 2005
Streaming - สะดุด ดูดมาดู offline ซะ
เดี๋ยวนี้ hi speed internet เข้ามามีผลกับชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยนะครับ จนบางครั้งรู้สึกว่าการออนไลน์เป็นเรื่องปกติที่ต้องทำหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
สิ่งใหม่ๆ ที่ตามมาหลังจากที่มี hi speed ก็คือการส่งผ่านข้อมูลแบบ streaming นั่นเองครับ ของไทยก็เริ่มมี web site ที่ให้บริการแบบนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือว่าโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็น MCOT ที่ www.mcot.net วิทยุผู้จัดการ ที่ www.managerradio.com
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ก็คือเจ้าตัว Windows Media Player นั่นเองครับ
ปัญหาที่ประสบเวลาใช้ internet ADSL รับข้อมูลที่เป็น streaming ก็คืออาการสะดุดของข้อมูลทำให้รับภาพและเสียงได้ไม่ต่อเนื่องก่อให้เกิดอาการหงุดหงิดได้
วิธีแก้หงุดหงิดก็โดยการดูด file streaming พวกนี้มาไว้ในเครื่องก่อนจะดูซะเลย งานนี้ต้องใช้ตัวช่วยเล็กน้อยครับ
ก่อนอื่น download โปรแกรม flashget ที่ช่วยเรา download file จาก internet ได้หลากหลายมา install ก่อน จากที่นี่ครับ
http://www.amazesoft.com/ (freeware)
หลังจากนั้นก็เปิดเข้าไปยังหน้าของ clip ที่เราต้องการ download กด stop ไว้ก่อน
click ขวาที่หน้าจอของ Windows Media Player เลือก properties เราจะเห็นบรรทัด ที่ขึ้นต้นด้วย mms:// นั่นล่ะครับที่อยู่ของเจ้า file streaming ล่ะ copy url อันนี้ไป paste ในโปรแกรม FlashGet เท่านี้ก็เรียบร้อย
file ที่ได้จะเป็น .wmv (video) หรือ .wma (audio) ซึ่งสามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรม Windows Media Player ครับ
ทีนี้เราก็สามารถเก็บ clip ที่ชอบเอาไว้ดู โดยไม่ต้องพึ่งการออนไลน์ตลอดเวลาได้แล้วครับ อย่างเช่น รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่คุณลุงสนธิ ใจดีเปิดให้ฟังฟรี รายการคนค้นคน ที่พลาดเผลอหลับไปเสียก่อน ก็สามารถ copy ใส่ PocketPC ไปฟังหรือดูระหว่างนั่งรถไปทำงานได้เลยครับ
สำหรับคนที่มีเครื่องเล่น mp3 หรือ iPod ก็สามารถแปลง file .wma ให้เป็น mp3 ได้โดยใช้โปรแกรมแปลง file เสียงที่มีอยู่ทั่วไปได้ครับ ถือได้ว่าเป็น podcast อย่างไม่เป็นทางการเลยนะเนี่ย
สิ่งใหม่ๆ ที่ตามมาหลังจากที่มี hi speed ก็คือการส่งผ่านข้อมูลแบบ streaming นั่นเองครับ ของไทยก็เริ่มมี web site ที่ให้บริการแบบนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหรือว่าโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็น MCOT ที่ www.mcot.net วิทยุผู้จัดการ ที่ www.managerradio.com
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ก็คือเจ้าตัว Windows Media Player นั่นเองครับ
ปัญหาที่ประสบเวลาใช้ internet ADSL รับข้อมูลที่เป็น streaming ก็คืออาการสะดุดของข้อมูลทำให้รับภาพและเสียงได้ไม่ต่อเนื่องก่อให้เกิดอาการหงุดหงิดได้
วิธีแก้หงุดหงิดก็โดยการดูด file streaming พวกนี้มาไว้ในเครื่องก่อนจะดูซะเลย งานนี้ต้องใช้ตัวช่วยเล็กน้อยครับ
ก่อนอื่น download โปรแกรม flashget ที่ช่วยเรา download file จาก internet ได้หลากหลายมา install ก่อน จากที่นี่ครับ
http://www.amazesoft.com/ (freeware)
หลังจากนั้นก็เปิดเข้าไปยังหน้าของ clip ที่เราต้องการ download กด stop ไว้ก่อน
click ขวาที่หน้าจอของ Windows Media Player เลือก properties เราจะเห็นบรรทัด ที่ขึ้นต้นด้วย mms:// นั่นล่ะครับที่อยู่ของเจ้า file streaming ล่ะ copy url อันนี้ไป paste ในโปรแกรม FlashGet เท่านี้ก็เรียบร้อย
file ที่ได้จะเป็น .wmv (video) หรือ .wma (audio) ซึ่งสามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรม Windows Media Player ครับ
ทีนี้เราก็สามารถเก็บ clip ที่ชอบเอาไว้ดู โดยไม่ต้องพึ่งการออนไลน์ตลอดเวลาได้แล้วครับ อย่างเช่น รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่คุณลุงสนธิ ใจดีเปิดให้ฟังฟรี รายการคนค้นคน ที่พลาดเผลอหลับไปเสียก่อน ก็สามารถ copy ใส่ PocketPC ไปฟังหรือดูระหว่างนั่งรถไปทำงานได้เลยครับ
สำหรับคนที่มีเครื่องเล่น mp3 หรือ iPod ก็สามารถแปลง file .wma ให้เป็น mp3 ได้โดยใช้โปรแกรมแปลง file เสียงที่มีอยู่ทั่วไปได้ครับ ถือได้ว่าเป็น podcast อย่างไม่เป็นทางการเลยนะเนี่ย
Monday, October 24, 2005
เป็นมากกว่า Web Browser
หลาย ๆ คนคงจะได้ทดลองใช้ web browser ตัวใหม่ที่มาแรงในขณะนี้นั่นก็คือ Mozilla FireFox
นอกจากจะใช้ดู web ทั่วไปได้แล้ว FireFox ยังสามารถเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ ได้มากมาย โดยส่วนเพิ่มเติมความสามารถที่เรียกว่า Extension ครับ
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก พอตอนเช้าอากาศกลับหนาว เลยได้ทดลองใช้ extension ตัวนึงที่ชื่อว่า ForecastFox ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ โดยใช้ข้อมูลจาก website พยากรณ์อากาศ AccuWeather.com สามารถเลือกดูสภาพอากาศของเมืองต่าง ๆ ได้ทั่วโลก แถมมีภาพถ่ายดาวเทียมให้ดูอีกด้วย ทีนี้ฝนตกทางโน้น ทางนี้ก็รู้แล้วล่ะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ForecastFox http://forecastfox.mozdev.org/
ข้อมูลเกี่้ยวกับ FireFox และ Extension อื่น ๆ ที่นี่ครับ http://www.mozilla.org/
ทักทายเป็นครั้งแรก
สวัสดีครับ
เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาส โพสต์ข้อความในฐานะ Blogger ของที่นี่
ความตั้งใจที่ได้จัดทำ blog แห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะบอกเล่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ข่าวคราวต่าง ๆ ที่ได้รับจากการท่องไปในอินเตอร์เนต โดยเฉพาะที่อยู่ในความสนใจของผม (แฮ่ม..) ส่วนใหญ่ก็คงไม่พ้นเรื่อง เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันทั้งหลาย อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ ข่าวสารบ้านเมือง หนังสือ ภาพยนตร์ ฯลฯ ที่อยากเล่าสู่กันฟัง
การเดินทางท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนต มีทั้งสิ่งที่ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น รู้จักคนมากขึ้น ประหยัดเวลามากขึ้น และติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ไกลได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอยู่มากมาย
ก่อนออกเดินทางอย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมนะครับ
แล้วพบกันใหม่ครับ
เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาส โพสต์ข้อความในฐานะ Blogger ของที่นี่
ความตั้งใจที่ได้จัดทำ blog แห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะบอกเล่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ข่าวคราวต่าง ๆ ที่ได้รับจากการท่องไปในอินเตอร์เนต โดยเฉพาะที่อยู่ในความสนใจของผม (แฮ่ม..) ส่วนใหญ่ก็คงไม่พ้นเรื่อง เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันทั้งหลาย อุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ ข่าวสารบ้านเมือง หนังสือ ภาพยนตร์ ฯลฯ ที่อยากเล่าสู่กันฟัง
การเดินทางท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนต มีทั้งสิ่งที่ทำให้เรามีความรู้มากขึ้น รู้จักคนมากขึ้น ประหยัดเวลามากขึ้น และติดต่อสื่อสารกับคนที่อยู่ไกลได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอยู่มากมาย
ก่อนออกเดินทางอย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมนะครับ
แล้วพบกันใหม่ครับ
Subscribe to:
Posts (Atom)