Thursday, May 29, 2008

Audacity ไม่อ่านไฟล์!

เมื่อสองสามวันก่อนมีเหตุต้องไปบันทึกเสียงการบรรยายทางวิชาการ 2 วันติดกัน ตกวันละประมาณ 7 ชั่วโมง เนื่องจากอุปกรณ์อัดเสียงไม่ได้มีให้เต็มรูปแบบ ก็เลยต้องพึ่งเจ้า laptop ตัวเก่า ที่เพิ่งลง Ubuntu Hardy มาได้สักพัก ซึ่งก็พบว่า มีโปรแกรม Sound Recorder แถมมากับ distro ด้วย ก็เลยไม่ได้ลงโปรแกรม Audacity ใหม่

ตอนที่บันทึกเสียงชั่วโมงแรกผ่านไปทดลองเลือกเป็น ogg format ด้วยความคิดตอนนั้นว่าเป็น opensource format และขนาดไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กลง แต่ลืมคิดไปว่าความเร็ว CPU อาจจะไม่พอต่อการอัดและ encoding พร้อม ๆ กัน ผลที่ได้ก็คือ เสียงขาดหายไปประมาณ 90% เป็นอันว่า .ogg format ไม่ work

ก็เลยเปลี่ยนเป็นมาอัดเป็น lossless format แทน ซึ่งในโปรแกรม Sound Recorder มีให้เลือก 2 format ก็คือ .wav และ .flac ก็เลยตัดสินใจบันทึกมาเป็น .flac แทน วันแรกมีการหยุดบันทึกเป็นช่วง ๆ ได้ไฟล์ .flac ย่อย ๆ หลายไฟล์

วันที่ 2 รู้สึกจะยุ่งยากกับการวิ่งเข้าออกห้องควบคุม ก็เลยตั้งอัดยาวรวด 7 ชั่วโมง ตั้งใจว่าจะมาตัดต่อทีหลัง ใช้ .flac เช่นเคย หมดวัน ใช้พื้นที่ 4.4 GB

หลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอนการทำ encoding ให้กลายเป็น mp3 และตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อหา โดยใช้โปรแกรม Audacity พอเริ่มเปิดไฟล์ สิ่งที่เจอปัญหาสิ่งแรกก็คือ Audacity ไม่สามารถอ่านไฟล์ .flac ได้!

ก็เลยต้องหาทาง convert .flac ให้กลายเป็นนามสกุลอื่นก่อน ที่คุ้นเคยดี และเป็น lossless เหมือนกัน ก็คือ .wav ผ่านทางคำสั่ง

flac -d <filename.flac> -o <filename.wav>

โล่งอก เพราะ Audacity สามารถเปิดไฟล์ที่แปลงเป็น .wav ของงานประชุมวันแรกได้อย่างไม่มีปัญหา

สำหรับวันที่ 2 ที่อัดยาว 7 ชั่วโมง ก็ใช้วิธีเดิม คือ convert จาก .flac เป็น .wav หลังจาก convert เสร็จพบว่า Audacity อ่านไฟล์ .wav ที่ convert เสร็จแล้วไม่ออก! แต่ทั้งไฟล์ .flac และ .wav สามารถเปิดได้จาก AmaroK เป็นปกติ

คิดไปคิดมาเอายังไงดี

ก็เลยหาวิธี convert ไฟล์เป็นนามสกุลอื่น ตัดสินใจเลือกเป็น .mp3 เสียก่อน ค้นดูใน net พบว่าการใช้ pipe สามารถรวบ output จาก flac ไปออกที่ lame ได้

flac -cd <filename.flac> | lame -h - <filename.mp3>

หลังจากนั้นก็เปิดไฟล์ .mp3 ด้วย Audacity .... Bingo! เปิดได้แล้วครับ รอดตัวไป

Monday, May 26, 2008

สิทธิ์ของผู้บริโภค Content

ปรากฏการณ์ของ digital media ทั้งหลาย ทำให้เราสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้รวดเร็ว กว่าช่วงเวลาก่อนหน้านี้ก็จริง แต่ทำให้ผู้ผลิตสื่อ และเจ้าของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เหล่านี้ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่ผู้บริโภคสื่อเช่นเดียวกัน

ในสมัยก่อน ถ้าเราอยากอ่านหนังสือสักเล่ม หรืออยากฟังเพลง ก็เพียงแต่ไปที่ร้านขาย แล้วก็ซื้อมา หลังจากที่อ่านหนังสือจบแล้ว เราก็สามารถเอาไปให้เพื่อนอ่านต่อได้ โดยไม่รู้สึกว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เลย เช่นเดียวกับเพลงหรือภาพยนตร์ทั้งหลาย ที่เราสามารถแบ่งปันให้กับคนอื่นได้เช่นเดียวกัน

ในยุคที่สื่อการเก็บข้อมูลชนิดต่าง ๆ มุงหน้าสู่ความเป็น digital ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ทั้งในด้านของการดูแลรักษา ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บ ข้อมูลไม่มีการเสื่อมคุณภาพ และที่สำคัญคือสามารถขนถ่าย ทำซ้ำ ได้ง่าย แล้วด้วยความง่ายของการทำซ้ำ และการแจกจ่ายนี่เอง ทำให้ผู้ผลิตสื่อ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ควรจะได้รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้หายไป

เป็นที่มาของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เริ่มกำหนด Digital Right Management (DRM) เพื่อป้องกัน (หรือทำให้ยาก) ต่อการทำซ้ำ ส่งผลให้เกิดการจำกัดการใช้งานของผู้บริโภคตามมา จนในบางครั้งลุกลามไปถึงความไม่สมเหตุสมผลของการปฏิเสธที่จะให้บริการแก่ผู้บริโภคที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานนอกเหนือจากที่กำหนด แม้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเป็นความผิดของผู้ผลิต โดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการดัดแปลง ๆ นั้น ๆ เลยก็ตาม ตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ HP ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบ keyboard ของเครื่องคอมพิวเตอร์ laptop ที่เสีย เพราะว่าผู้ใช้เปลี่ยนระบบปฏิบัติการเป็น Linux แม้ว่า keyboard เสียจะเป็นปัญหาทางด้าน hardware ก็ตาม

สำหรับผู้ใช้ Digital music device ต่าง ๆ ถ้าได้มีประสบการณ์ในการซื้อเพลงออนไลน์แบบติด DRM ก็คงประสบปัญหากันบ้าง ทั้งเรื่องของข้อจำกัดในการติดตั้งเพลงลงบนเครื่องเล่น หรือแม้แต่การจำกัดจำนวนครั้งในการ download เพลง (ที่เราจ่ายเงินซื้อไปแล้ว!)

เมื่อไม่นานมานี้ Microsoft ได้ประกาศ web site จำหน่ายเพลงออนไลน์ใหม่ ในชื่อ Zune Marketplace โดยจะเข้ามาทำหน้าที่แทน web site เดิมอย่าง MSN Music โดยที่ประกาศว่า ผู้ใช้จะไม่สามารถสร้าง key ใหม่ เพื่อนำเพลงที่เคยจ่ายเงินซื้อไปแล้วบน MSN Music ไปใช้ต่อได้ เพื่อให้เพลงที่ขายบน Zune Marketplace ทำงานเข้ากันได้กับระบบเครื่องเล่นเพลงรุ่นใหม่เท่านั้น

web site ที่ขาย eBook อย่าง fictionwise.com ซึ่งแม้ว่าจะเสนอราคาขายที่ถูกกว่า (หรือเท่ากันกับ) หนังสือที่เป็นเล่มก็ตาม แต่ด้วยความง่าย และสามารถตัดต้นทุนในด้านของการขนส่งสินค้าออกไป ทำให้ราคาหนังสือโดยรวมแล้ว ถูกกว่าการซื้อหนังสือเป็นเล่ม แต่ด้วยข้อจำกัดของ DRM (หรือที่เขาเรียกว่า Secure ebook format -- secure = สำหรับคนขาย = ความยุ่งยากของผู้บริโภค) เพื่อป้องกันการแจกจ่ายไปที่อื่น ทำให้ผมรู้สึกว่า ที่จริงแล้ว การซื้อ ebook เหล่านี้ก็ไม่ได้มีต้นทุนที่ถูกนัก เพราะเราไม่สามารถแบ่งหนังสือเล่มนี้ไปให้คนอื่นอ่านได้ หรือแม้แต่การขายสิทธิ์ในการอ่านหนังสือเล่มนี้ไปให้คนอื่น (เปรียบได้กับการเอาหนังสือที่อ่านจบแล้วไปให้กับร้านหนังสือเก่า) ก็ไม่สามารถทำได้ นั่นเท่ากับว่า เราจ่ายเงินซื้อสิทธิ์ในการอ่านหนังสือเล่มนั้น สำหรับตัวเราคนเดียวเท่านั้นเอง

ล่าสุดก็มีกรณีที่เครื่อง Digital TV Recorder ที่ทำงานบน Windows Media Center บน Windows Vista ปฏิเสธการบันทึกรายการที่ผู้แพร่ภาพส่งสัญญาณ "ห้ามบันทึก" แนบมาด้วย แม้ว่าจะเป็นสิทธิ์ของผู้ผลิต hardware หรือ software ที่ทำหน้าที่บันทึก สามารถเลือกได้ว่าจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายก็ตาม

ในอนาคต digital media ทั้งหลายก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่ตามมาก็คือ การที่เจ้าของเนื้อหาจะจำกัดวิธีการบริโภคสื่อนั้น ๆ ให้อยู่ในเฉพาะรูปแบบที่ตนเองต้องการ ในขณะที่ผู้บริโภคมีช่องทางการเข้าถึงสินค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่เจ้าของเนื้อหาทำคือการสร้างกำแพงในการเข้าถึงสื่อเหล่านี้เสียเอง เราคงจะยังเห็นปัญหาที่เกิดจากการใช้ DRM เกิดขึ้นอีกมาก แต่อย่าลืมว่า ในสังคมที่มีผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนมหาศาล เราก็จะมีทางเลือกใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ซึ่งสุดท้ายแล้วผู้บริโภคก็จะเป็นผู้ตัดสินความอยู่รอดของผู้ผลิตสินค้า

Monday, May 19, 2008

ความยืดหยุ่นของ Linux

วันนี้เพิ่งเขียนข่าวเกี่ยวกับ Linux distribution ที่มีชื่อว่า Splashtop ถูก scale ให้มีขนาดเล็กลงจนกระทั่งสามารถ จับใส่ไปใน หน่วยความจำของ motherboard ได้

ทำให้คิดถึงข้อดีของ linux ขึ้นมาอีกข้อหนึ่ง นั่นก็คือเรื่องความยืดหยุ่นของ linux เอง ซึ่งมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นจากการรวมส่วนย่อย ๆ หลายส่วน (modules) เข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถเลือกเอา modules เฉพาะที่เราต้องการมารวมกันสำหรับการทำงานบน hardware เฉพาะอย่างได้ โดยที่ไม่เปลืองพื้นที่หน่วยความจำมากนัก

ตัวอย่างอื่น ๆ ที่มีให้เห็น ก็คือเรื่องของระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งลงบน เครื่อง mini laptop แบบ eee PC อย่าง Xandros ซึ่งตัดส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ทำให้ส่วนของระบบปฏิบัติการที่เหลืออยู่มีขนาดเล็กลง ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น บน hardware ที่สร้างขึ้นเฉพาะอย่าง ในทางตรงกันข้าม เครื่อง supercomputer ขนาดมหึมา ก็มี linux เป็น OS ยอดนิยมเช่นเดียวกัน

ในอนาคต เราก็จะได้เห็น linux บน hardware ที่หลากหลายมากขึ้น ที่น่าจับตามองที่สุดก็คงเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถืออย่าง android ซึ่งจะมาเป็นคู่แข่งกับ iPhone, Windows Mobile และ Symbian

Friday, May 16, 2008

Run Java โปรแกรม โดยตรงผ่านทาง shortcut


สำหรับคนที่ใช้ Esmertec Java ครับ เราสามารถสร้าง shortcut เพื่่อ run โปรแกรม java applet ได้ผ่านทาง command line โดย การสร้าง shortut ใหม่

command line ที่ใช้คือ

jbed -run s{x}_

โดย {x} แทนตัวเลข ซึ่งจะแทนโปรแกรม แต่ละโปรแกรม

วิธีทดสอบก็คือ ทดลองเปลี่ยนตัวเลขไปเรื่อย ๆ แล้วลอง run shortcut ดูจนกว่าจะได้โปรแกรมที่ต้องการ

ยังหาวิธีเดาตัวเลขให้ตรงกับโปรแกรมเยไม่ได้เหมือนกันครับ แต่คาดว่าหมายเลขที่สร้างขึ้นน่าจะมาจากลำดับการ install โปรแกรม