นักวิจัยการนอนได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารการนอน (Journal Sleep) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัว กับระยะเวลานอนในแต่ละคืน โดยทำการวิจัยในกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 21 ถึง 64 ปี จำนวน 276 คน โดยทำการชั่งน้ำหนักไว้ก่อนเริ่มทำการศึกษา แล้วทำการติดตามน้ำหนักตัวเมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี
ผู้วิจัยพบว่า กลุ่มที่ใช้เวลานอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มที่นอน 8 ชั่วโมงต่อวัน และกลุ่มที่ใช้เวลานอนเกิน 9 ชั่วโมงต่อวันก็มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากขึ้นเฉลี่ย 1.58 กิโลกรัม
นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบอีกว่า คนที่นอนน้อยมีความเสี่ยงที่จะได้น้ำหนักตัวเพิ่ม 5 กิโลกรัมในเวลา 6 ปี เพิ่มขึ้น 35% ส่วนคนที่นอนเยอะเกินก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 25%
ผู้วิจัยสันนิษฐานว่าความสัมพันธ์ของน้ำหนักตัวกับระยะเวลาการนอนนี้ เกิดจากการนอนนั้นมีผลต่อวงจรการหลั่งฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อความรู้สึก หิวหรืออิ่ม
ใครว่านอนเยอะแล้วจะขึ้นอืด นอนน้อยก็ขึ้นอืดได้เหมือนกันครับ
No comments:
Post a Comment